แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA เส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA

จากแนวทางในการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ วPA ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูให้มีศักยภาพและสมรรถนะการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวัง ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น การพัฒนาจึงนับได้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ และทักษะหรือความชำนาญงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนพัฒนางานไปสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
สำหรับเทคนิคหรือแนวทางในการพัฒนางานให้สอดคล้องกับระดับปฏิบัติการตามมาตรฐานวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับการทำงาน และการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น มีดังนี้
1. ความเป็นจิตนวัตกรรม (Innovation minds) เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากปัญหาที่พบในการเรียน
การสอน (what’s the problem) คิดหาวิธีการแก้ปัญหา (what’s the action) ตามมาตรฐาน 8 ตัวชี้วัด
ที่สอดคล้องกับบริบทของตนเอง ผลลัพธ์การเรียนรู้ (what’s the result) ของผู้เรียนจากการประเมินตามสภาพจริง และการพัฒนาผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป (what’s the next step)
2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ หรือการพัฒนางานให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ เช่น ครูเชี่ยวชาญ ใช้วิธีการคิดค้น พัฒนานวัตกรรม และปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ จนทำให้คุณภาพผู้เรียนสูงขึ้นและให้คำปรึกษาผู้อื่นได้ เป็นต้น
3. การศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์ผลงานที่ใช้เสนอขอรับการประเมินระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะเชี่ยวชาญของ ว17 และ ว9 ในด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการอย่างละเอียดและแม่นยำ เนื่องจากเกณฑ์การให้คะแนนมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีองค์ประกอบเกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
1) องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ 50 คะแนน
ส่วนที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ 50 คะแนน
2) วิธีการประเมินผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาตามองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วน ตามข้อ 1
2.1) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการ
ประเมิน ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน 1 รายการ
2.2) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับ
การประเมิน ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวนอย่างละ 1 รายการ โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 หรือ 2 โดยส่งบทความวิจัยที่ตีพิมพ์
เผยแพร่ในรูปแบบไฟล์ PDF ด้วย
3) เกณฑ์การตัดสิน สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และสำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
4. การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานและประเด็นท้าทาย (PA) ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและระดับการปฏิบัติที่คาดหวังเชื่อมโยงสู่ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับวิจัยการจัดการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบของงานวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) ตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR
5. การถ่ายคลิปวิดีโอผลงานนักเรียนที่มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ครูได้คิดค้นขึ้นและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสะท้อนผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. สำหรับการยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้อิงตามระดับชั้นที่สอน แต่สำหรับกรณีที่มีการย้ายระดับชั้นที่สอนในช่วงที่มีการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถถ่ายคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนได้ ครูอาจจะต้องคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ และนำเสนอในงานวิจัยเพิ่มเติม
เห็นได้ว่า การพัฒนางาน ครูอาจจะต้องเริ่มจากการวางแผน วิเคราะห์บริบทของตนเอง เลือกวิธีการหรือแนวทางที่สอดคล้องกัน หรือมีความแตกต่างกันระหว่างประเด็นท้าทายและงานวิจัย/นวัตกรรมตามแต่ละบริบทได้ ที่สำคัญคือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องการพัฒนา หรือแก้ปัญหาตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/45RU7LA
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
เรียนรู้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครูในการประเมิ ...



เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
แนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะสมาธิสั้น ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธี ถ้าเด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้ ...



Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
Related Videos


เทคนิคการเชื่อมโยงด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ให้ร้อยรัดกัน


สร้างบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียนอย่างไรให้ผ่าน วPA


STARFISH TALK EP11 ผู้บริหารกับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน
