6 Key Pillars
แนวทางหลักที่ช่วยกำหนดทิศทางการเรียนรู้ ตาม 6 หมวดสำคัญ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบริหารการศึกษาแห่งอนาคต
Future of Education Administration
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
มีความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวางแผนและการบริหารงานสถานศึกษา
Learning Culture for Education
มีความเข้าใจถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้และการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมนี้ให้กับนักเรียน ครู บุลคลากร เสริมสร้างความสัมพันธ์และความสามารถในการทำงานร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา
การศึกษาในอนาคต
เข้าใจและเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อสร้างการศึกษาที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา
นวัตกรรมในห้องเรียนยุคใหม่
Ed. Innovation and EdTech Tools
เทคโนโลยีดิจิทัล
เป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาทิ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
เครืองมือครู
เครื่องมือครู คือวิธีการที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เครื่องมือจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อครูได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การเรียนแบบบูรณาการ
การบูรณาการกิจกรรมหรือการศึกษาต่าง ๆ จะมีลักษณะที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่ ความรู้ทางวิทย์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และศิลปะช่วยเสริมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ ความสุขในการเรียนรู้ สู่การเติบโตอย่างสมดุล
ทักษะแห่งอนาคต
Future Skill
ภาษาและการสื่อสาร
มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารโดยพูดแบบตัวต่อตัวหรือใช้สื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือผู้รับสารจะเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้อย่างครบถ้วน ทักษะการสื่อสารถือเป็นกระบวนการในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมหรือในกลุ่ม
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เรียนรู้และการปรับตัว เพื่อให้ได้ผลที่สำเร็จตามเป้าหมาย การพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการบริหารจัดการเวลา และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการทํางานแบบมืออาชีพ
ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการทำงาน โดยคำนึงถึงแนวโน้มและความต้องการของตลาดและสังคมในอนาคต ซึ่งมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในอนาคต
อาชีพในอนาคต
Future of Work
Future Ready
ความสามารถของหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถทำงานต่างๆแทนมนุษย์ได้ การสร้างทักษะของเด็กให้มีความแตกต่างจากเครื่องจักร และการเรียนรู้ในสิ่งที่กำลังพัฒนาการก้าวสู่โลกอนาคต เป็นสิ่งทีจำเป็น เพื่อการอยู่ร่วมกัน และการอยู่รอดในโลกอนาคต
เทรนด์การทํางานยุคใหม่
การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของการทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานในยุคปัจจุบันที่เน้นให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และความต้องการของตลาดและสังคม
อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคต
อาชีพที่มีความสำคัญและต้องการในสังคมในอนาคตในระยะยาว มีความเชื่อมโยงกับความเจริญของสังคมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต
การดูแลและพัฒนาตนเอง
Self Care and Personal Growth
ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก และสังคม
ปัญหาในสังคมโลกรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมเมือง เด็กยุคใหม่ต้องเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องศึกษาเรียนรู้ และหาแนวทางการในการแก้ปัญหาต่อไป
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของทุกคนในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การรู้จักดูแลจัดการกับสุขภาพกาย สุขภาพจิตและวิธีคิดนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขสมบูรณ์และ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
คุณธรรมและจริยธรรม
คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำลงไปด้วยความมีสำนึกดีในจิตใจ โดยได้ยึดถือปฏิบัติจนเป็นความเคยชินมายาวนาน อันเป็นลักษณะนิสัยของคนดีที่พึงประพฤติปฏิบัติจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ถูกต้องตามจารีตประเพณีของตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม
การเลี้ยงเด็กในยุคดิจิทัล
Parenting In the Digital Age
พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการของเด็กจะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคลอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุและสิ่งแวดล้อม จึงต้องส่งเสริมเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย
เครื่องมือผู้ปกครอง
ผู้ปกครองหรือครอบครัว คือ ครูคนแรกของเด็ก ซึ่งจะได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่บ้าน สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเมื่อเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา การเรียนรู้จะต้องเชื่อมต่อและเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว จะทำให้การเรียนรู้มีความหมายต่อเด็ก เพราะสามารถเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงที่บ้านได้ด้วย
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ จะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้เฉพาะบุคคล รวมทั้งจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ อย่างเต็มศักยภาพ