วิธีดูแลสุขภาพจิตพ่อแม่จากการเสพข่าวสะเทือนใจโดยนักจิตวิทยา

Starfish Academy
Starfish Academy 780 views • 2 ปีที่แล้ว
วิธีดูแลสุขภาพจิตพ่อแม่จากการเสพข่าวสะเทือนใจโดยนักจิตวิทยา

ไม่นานมานี้ เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนได้รับข่าวร้ายที่สะเทือนใจคนไทยอย่างมากข่าวหนึ่ง ซึ่งเป็นประเด็นที่พูดถึงกันทั่วประเทศ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่พูดคุยกันเมื่อเจอหน้าเพื่อนฝูงเลยทีเดียว 

ก่อนหน้านี้ทั้งสื่อหรือฟีดบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้มีการนำเสนอการไว้อาลัย บรรยากาศสถานที่เกิดเหตุ เรื่องราวของเด็กน้อยและครูผู้เสียชีวิต รวมถึงเรื่องของครอบครัวผู้รับผลกระทบอีกด้วย 

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราได้รับข่าวสะเทือนใจในปริมาณมาก ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้สภาพจิตใจเรารับมือไม่ทัน บางคนอาจรู้สึกจิตใจหดหู่ เศร้าสะเทือนใจ เครียด นอนไม่หลับ กังวล หมดอารมณ์ทำกิจวัตรประจำวันได้ 

ก่อนที่เราจะไปถึงวิธีการเยียวยาจิตใจและการป้องกัน เรามารู้จักที่มาที่ไปของความเศร้าหลังเสพข่าวสะเทือนใจกันก่อน

คำว่า “Doomscrolling” หรือ “Doomsurfing” เป็นคำศัพท์ทางจิตวิทยาที่ถูกนิยามขึ้นมาใหม่ หมายถึงการไถฟีดโซเชียลมีเดียหรือเล่นอินเทอร์เน็ตจนได้รับข่าวร้ายมากเกินไป และยิ่งเห็นก็ยิ่งอยากรู้ (หรือบางทีก็ไม่อยากรู้หรอกแต่ฟีดนำเสนอมาเอง) หยุดไถฟีดไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เรารับรู้ว่าข่าวนั้นทำให้เราเศร้า หมดหมอง รู้สึกใจสลาย จิตใจเราจึงถูกครอบงำด้วยความเศร้าทีละเล็กทีละน้อยแบบไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าแบบตู้มเดียวฉับพลัน! (ซึ่งเรามักไม่รู้สาเหตุว่าความเศร้านี้เกิดจากการใช้สื่อเยอะเกินไป) 

ทุกครั้งที่เราเสพข่าวเศร้าหรือข่าวร้ายสมองของเราจะหลั่งสารเคมีความเครียดอย่าง Cortisol หรือ Adrenaline ออกมา และเมื่อเราเสพบ่อย ๆ ถี่ ๆ ทำให้สารเคมีเหล่านี้จะถูกหลั่งออกมาเรื่อย ๆ เหมือนน้ำที่ค่อย ๆ หยดลงถังน้ำ 

ช่วงแรกร่างกายเราก็จะรู้สึกว่า ยังรับไหวอยู่นะ ไม่เป็นไร ยังรับไหวอยู่ 

จนจู่ ๆ น้ำที่หยดก็ล้นถึงขีดที่ร่างกายรับไม่ได้ จึงหดหู่ซึมเศร้าแบบตู้มเดียว 

ซึ่งการที่สารเคมีความเครียดหลั่งออกมาเรื่อย ๆ ในเวลานาน ๆ จะทำให้เรารู้สึกปวดหัว น้ำหนักขึ้น ย่อยไม่ดี ความดันเปลี่ยนแปลง กังวล ไม่สบายใจ ฯลฯ นั่นเอง

แล้วเราดูแลสุขภาพจิตของเราอย่างไรเมื่อเรา Doomscolling ไปนาน ๆ หรือเราจะป้องกันตัวเองไม่ให้ Doomscolling ได้อย่างไร 

วันนี้กานต์ขอสรุปวิธีการป้องกันและเยียวยาจิตใจตัวเองสั้น ๆ 5 ข้อให้คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ

1. กำหนดเวลาใช้เสพข่าวสาร: 

พฤติกรรมการรับสื่อ (โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย) โดยทั่วไปคือเราจะไถไปเรื่อย ๆ ว่างก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูไถฟีดไปเรื่อย ๆ เราจึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการใช้สื่อของเราเพื่อตัดวงจร Doomscrolling โดยอาจจะให้ตัวเองรับสื่อเป็นเวลา และครั้งนึงไม่นานเกินไป เช่นให้เวลาไถฟีตติ๊กต๊อกไม่เกินครั้งละ 1 ชั่วโมง เป็นต้น

2. เลิกเล่นโซเชียลมีเดียสักระยะ

ถ้าเราเริ่มสังเกตว่าเราได้รับข่าวสะเทือนใจเหล่านี้ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ และเริ่มรู้สึกหดหู่ วิธีที่จะช่วยคือพักจากการเล่นโซเชียลมีเดียเพื่อรักษาสมดุลของจิตใจ (ซึ่งกานต์เองใช้วิธีนี้บ่อยมาก) เราอาจจะตั้งเวลาให้ตัวเองหายไปจากโลกโซเชียลสัก 2-3 วันจนข่าวสะเทือนใจเริ่มซาลง แล้วกลับมาเล่นใหม่ได้

3. ออกกำลังกาย 

คุณพ่อคุณแม่อาจจะงงว่า เอ..​ ฉันอ่านผิดหรือเปล่า ออกกำลังกายเกี่ยวอะไรนะ ? อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ การออกกำลังกายเป็นการสร้างความสมดุลของสารเคมีในสมอง และปล่อยสร้างเคมีความสุขออกมามากขึ้น ทำให้ความเครียดและความเศร้าลดลง ถ้าเราเริ่มรู้สึกเครียด ลองวิ่งสัก 15 นาที หรือกระโดดตบดูนะคะ

4. เห็นใจแต่ไม่เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ Empathy แต่ไม่ Sympathy

ในความเป็นพ่อแม่ เวลาเราเห็นข่าวเด็ก ๆ ที่รับเหตุร้าย เรามักจะเศร้าและสะเทือนใจเป็นพิเศษ เพราะ เรามักเชื่อมโยงโดยอัตโนมัติถึงลูกของเรา (อาจจะเป็นเพราะฮอร์โมนด้วยโดยเฉพาะแม่ที่ยังให้นมลูก หรืออยู่ในช่วงใกล้คลอดหรือคลอดลูกใหม่ ๆ​) เราจึงควรจะฝึก mindfulness และ Empathy ว่าเหตุการณ์นี้เศร้าและแย่มาก โดยมองที่มุมมองของผู้ที่เราเห็นใจ ว่าเขาจะเป็นอย่างไร เขาจะคิดอย่างไร เขาจะรู้สึกอย่างไร เช่นเขาอาจจะเศร้า และเสียใจกับความสูญเสียใหญ่นี้ โดยมีสติไม่ดึงกลับมาคิดว่าถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับเราจะเป็นอย่างไร (Sympathy คือการเห็นใจโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางว่า เราจะรู้สึกอย่างไร เราจะคิดอย่างไร เราจะเป็นอย่างไรถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับเรา ไม่คิดต่อว่า ถ้าเราเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างเราคงจะ.....)

5. สร้างจิตวิทยาเชิงบวกด้วยการขอบคุณ (gratitude)

ขอบคุณที่ลูกเรายังอยู่ตรงนี้กับเรา ขอบคุณที่สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นกับเรา หรือขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ 3 อย่าง ทำต่อเนื่องสักสองสัปดาห์เราจะมีความสุขขึ้นค่ะ

สิ่งสำคัญคือการรู้ตัวว่าเราอยู่ในกลุ่มสะเทือนอารมณ์ง่ายมั้ย เช่นเราเป็นกลุ่มที่รักษาโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลอยู่หรือเปล่า เรากำลังใกล้คลอดหรือเพิ่งคลอดลูกหรือเปล่า เราให้นมลูกอยู่หรือเปล่า ถ้าใช้เรายิ่งควรมีการระวังตัวที่ชัดเจนขึ้น เพราะเรามีแนวโน้มจะสะเทือนใจง่ายกว่ากลุ่มอื่น นอกจากนั้นหากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ได้ลองทำสิ่งต่าง ๆ ทั้ง 5 ข้อข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์แล้ว และยังมีอาการเศร้า เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่อยากทำกิจวัตรเดิม ๆ ที่เคยทำ ควรพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาเพื่อประเมินอาการซึมเศร้า หรือให้คำแนะนำที่เจาะจงเพิ่มเติมค่ะ

ขอให้ทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดี มีเกราะคุ้มกันเรื่องร้าย ๆ และปลอดภัยจาก Doomscrolling นะคะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

“เล่นให้เด็กติดใจ”จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าหากเรารู้เคล็ดลับบทเรียนนี้จะช่วยให้คุณ “เป็นคนที่ เล่นอย่างสนุก”“เข้าใจวิธีการเ ...

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)

เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
Starfish Academy

การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)

Starfish Academy
ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก และสังคม
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ

ความแปรปรวน ของสภาพอากาศโลกและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีความรุนแรงขึ้น จึงมีความจำเ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ
Starfish Academy

สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ

Starfish Academy
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
Starfish Academy

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

Starfish Academy

Related Videos

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
34:16
Starfish Academy

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

Starfish Academy
40 views • 2 ปีที่แล้ว
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 2 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
394 views • 3 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
180 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก