6 เคล็ดลับช่วยครู สร้างนักเรียน กล้าแสดงออก

Starfish Academy
Starfish Academy 6317 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เคล็ดลับช่วยครู สร้างนักเรียน กล้าแสดงออก

โดยธรรมชาติแล้ว เด็ก ๆ จะมีความกล้าแสดงออกในตัวอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่จะมีมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว และจากการที่บางครอบครัวมีการเลี้ยงดูที่บังคับและเข้มงวดเกินไป ทำให้มีเด็กจำนวนไม่น้อยต้องกลายเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก และเมื่อบ้านซึ่งถือว่าเป็นสถาบันเริ่มต้นของการใช้ชีวิต กลับทำให้เด็กเป็นคนไม่ชอบการแสดงออก เมื่อมาโรงเรียน ครูอาจจะใช้ระบบบังคับมากกว่าสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จึงทำให้เด็กไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าแม้แต่จะแสดงความคิดเห็น เพราะมองว่าการอยู่เฉยๆ เป็นเรื่องที่ปลอดภัยมากกว่า 6 วิธี สร้างเด็กกล้าแสดงออก จึงเป็นอีกแนวทางที่คุณครูสามารถใช้เสริมสร้างพลังบวกด้านการกล้าแสดงออกของเด็กๆ ได้ มาดูกันเลยว่ามีวิธีอะไรกันบ้าง

1. สร้างแบบอย่างที่ดี

ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ อัลเบิร์ต แบนดูรา นักจิตวิทยาชาวแคนาดา ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้น เกิดจากการสังเกตผ่านตัวแบบ ซึ่งถ้าเป็นไปตามทฤษฎี คุณครูควรสร้างรูปแบบห้องเรียนให้เด็กๆ มีโอกาส ได้แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ การให้เกียรติและเปิดโอกาสให้เขาได้มีช่วงเวลาเล่าถึงประสบการณ์ต่างๆที่เขาพบเจอ หรือให้นำเสนองานต่างๆในรูปแบบที่เขาคิดขึ้นมาเอง วิธีการนี้จะทำให้เด็กได้มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงความสามารถ และยังกลายเป็นแบบอย่างให้กับเด็กคนอื่นๆ อยากลุกขึ้นมามีบทบาทด้วยเช่นกัน

2. ไม่เร่งไม่บังคับ

บ่อยครั้งที่ครูอย่างเรามักจะให้เด็กออกมานำเสนอ หรืออภิปรายหน้าชั้นเรียนในเรื่องต่างๆ โดยการเรียกตามโต๊ะ เรียกตามเลขที่ หรือสุ่มเรียกตามอักษรชื่อ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีนักในการส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออก เพราะเด็กแต่ละคนอาจจะมีความพร้อมต่างกัน การให้เด็กออกมาพูดทั้งๆ ที่ยังไม่พร้อม ก็ไม่ต่างอะไรกับการให้เขาไปเป็นตัวตลกของเพื่อนๆ ดังนั้นคุณครูควรให้เวลากับเด็กๆ ในการเตรียมตัว แน่นอนว่าห้องเรียนของเรามีทั้งเด็กที่กล้า และไม่กล้าแสดงออก ให้เด็กที่กล้าแสดงออกได้มีโอกาสนำเสนอก่อน แล้วค่อยวนกลับมาที่เด็กที่เราต้องการส่งเสริม น่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มความกล้า ให้กับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งได้ดีเลยทีเดียว

3. คำนึงถึงความชอบและความสนใจ

Learning Style ของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน คุณครูควรจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาตามศักยภาพเฉพาะบุคคล การที่เราจะให้เด็กคนหนึ่งออกไปพูดกับเพื่อนหน้าชั้นเรียนในเรื่องที่เขาไม่เคยสัมผัสนั้น แทนที่จะเป็นการฝึกให้เขามีความกล้า แต่กลับกลายเป็นการบั่นทอนความกล้าและความมั่นใจของเด็กไป ในฐานะครู ก่อนที่จะให้เขาออกไปเผชิญความกล้า ก็ต้องเพิ่มความกล้าให้ก่อน นั่นก็คือ การให้เด็กเป็นเจ้าของการเรียนรู้ โดยไม่ต้องกำหนดหัวข้อ จะได้ไม่เพิ่มความกดดันให้เด็ก ครูควรให้เด็กได้พูดถึงสิ่งที่ชื่นชอบ หรือถนัดที่สุด เป็นสิ่งที่เขารู้ หรือสนใจเป็นพิเศษ เน้นถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เค้ารู้สึกว่าได้พูดถึงสิ่งที่ใกล้ตัว ซึ่งจะช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

4. ดูและรับฟังอย่างตั้งใจ

เมื่อเด็กคนหนึ่งกล้าที่จะออกไปทำกิจกรรม สิ่งที่ช่วยให้เขาอุ่นใจมากขึ้นก็คือ การที่มีคนสนใจในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ คุณครูควรหมั่นสบตาและพยักหน้า หรือยิ้มรับกับสิ่งที่เด็กกำลังนำเสนอ รวมถึงสอบถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องบ้างประปราย เพื่อให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่กำลังสื่อสารนั้นมีคนสนใจอยู่นั่นเอง ในช่วงท้ายอาจจะให้เพื่อนๆ ช่วยถามคำถามบ้าง ซึ่งการถาม-ตอบในลักษณะแบบนี้ จะส่งเสริมให้เด็กกล้าพูดมากขึ้น ความเขินอายจะลดน้อยลง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในครั้งถัดๆ ไป

5. ให้กำลังใจ

การให้กำลังใจถือเป็นการเสริมแรงที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมการกล้าแสดงออก เราก็ควรให้ความสำคัญกับการแสดงออกที่เหมาะสมเช่นกัน โดยการชมเชยในสิ่งที่เด็กได้ทำ ไม่จำเป็นว่าจะต้องชมเชยด้วยคำสรรเสริญเยินยอมากมายเสมอไป แต่การที่เรารับฟัง แล้วบอกว่าสิ่งที่เขานำเสนอออกมานั้น น่าชื่นชมและน่าสนใจ เพื่อนๆในชั้นเรียนก็มีส่วนร่วมในกิจกรรม หลังจากที่เพื่อนนำเสนองานแล้ว การปรบมือหรือชื่นชมกับสิ่งที่เพื่อนทำ ก็สามารถทำให้เด็กยิ้มได้อย่างมีความสุข คุณครูอาจจะนำผลงานเด็กไปติดเพื่อสร้างเป็นบอร์ดความรู้ ให้เด็กๆ คนอื่นได้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วย การทำเช่นนี้ เด็กอาจจะรู้สึกได้ว่าตัวเองก็ได้รับความสำคัญเช่นกัน แค่นี้ก็ถือเป็นการให้กำลังใจที่ยอดเยี่ยมสำหรับเด็กแล้ว

6. ให้โอกาสบ่อยๆ

หลังจากที่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เด็กคนหนึ่งให้มีความกล้าในตัวเองขึ้นมาได้แล้ว การจะรักษาพฤติกรรมนี้ไว้ก็มีหลากหลายวิธีเช่นกัน คุณครูควรเน้นการสร้างกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงออก บ่อยๆ เช่น การให้ออกมานำร้องเพลง การอภิปรายหน้าชั้นเรียน หรือการแสดงละคร ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพฤติกรรมความกล้าแสดงออกของเด็ก ให้มีความคงทนมากขึ้น ช่วยลดอาการประหม่า และเพิ่มพูนความมั่นใจ ครูไม่ควรทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง หรือเด็กหลังห้องต้องได้รับการยอมรับ และผลักดันให้สามารถก้าวไปได้พร้อมๆกับเพื่อนได้

การส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกนั้น คุณครูและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมช่วยกันสร้างไปพร้อม ๆ กัน คุณครูทุกท่านก็สามารถนำวิธีการต่างๆ นี้ไปปรับใช้ได้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้ ดั่งคำคมที่ว่า “ ไม่มีวิธีใดที่จะสอนเด็กๆ ของเราให้กล้าแสดงออกได้ดีไปกว่าการแสดงให้เขาเห็นว่าต้องทำอย่างไร” ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูทุกๆ ท่านค่ะ

แหล่งอ้างอิง:

Big Life Journal | 5 Key Steps For Raising Assertive Kids

biglifejournal.com/blogs/blog/how-to-raise-assertive-child 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3

หลักการเขียนภาษาไทย ม.1-3 เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของ Micro Learning เรื่อง เขียนอย่างไรให้สื่อความง่ายและตรงประ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3
Starfish Academy

Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
4562 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ

ฉีกกฏการเรียนการสอนแบบเดิมด้วยเทรนด์การเรียนรู้แนวใหม่แบบสั้น ง่าย ได้ความรู้ กับเทคนิคการสอนแบบพอดีคำ เพื่อลดภาระและ ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ
Starfish Future Labz

Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ

Starfish Future Labz

Related Videos

3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3
03:14
Starfish Academy

3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3

Starfish Academy
74 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3
Starfish Future Labz – Craft Your Future
05:27
Starfish Academy

Starfish Future Labz – Craft Your Future

Starfish Academy
211 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Future Labz – Craft Your Future
สร้างการเรียนรู้แบบ Active learning ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดเกณฑ์ PA
03:25
Starfish Academy

สร้างการเรียนรู้แบบ Active learning ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดเกณฑ์ PA

Starfish Academy
799 views • 2 ปีที่แล้ว
สร้างการเรียนรู้แบบ Active learning ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดเกณฑ์ PA
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
89 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]