ก่อนเปิดเทอมนี้มีไอเดียดีๆ ฟื้นฟูการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาแบ่งปัน

ก่อนเปิดเทอมนี้มีไอเดียดีๆ ฟื้นฟูการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาแบ่งปัน

การระบาดของโรคโควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการศึกษา นอกจากโรงเรียนต้องปิดเป็นระยะยาว หรือปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมแล้ว ยังส่งผลไปถึงภาวะถดถอยทางความรู้ของเด็ก ถึงแม้ว่าจะทำการเปิดเรียนหลังจากสถานการณ์คลี่คลายอาจยังไม่พอต่อการฟื้นฟูความรู้ที่ขาดหาย ดังนั้น นักเรียนจึงควรได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในการฟื้นฟูการเรียนรู้โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกสาระวิชาได้

การถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) เป็นการเสียโอกาสทางการเรียนรู้ ซึ่งมีผลให้นักเรียนเกิดภาวะถดถอยของความรู้ ทำให้ทักษะต่างๆ ที่นักเรียนควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยก็จะสูญเสียตามไปด้วย เช่น ทักษะการอ่าน การคำนวณ รวมทั้งทักษะต่างๆ ทางสังคม เช่น การปรับตัว ทักษะทางอารมณ์ เป็นต้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. การถดถอยทางการเรียนรู้แบบชั่วคราว เป็นการถดถอยที่เกิดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจมาจากขาดการเรียนรู้กับครูแบบตัวต่อตัว การไม่มีโอกาสได้วัดประเมินผลหรือตรวจสอบความเข้าใจ ทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ และเมื่อเด็กกลับเข้าสู่ระบบโรงเรียนปัญหาดังกล่าวสามารถที่จะแก้ไขได้

2. การถดถอยทางการเรียนรู้ระยะยาว เป็นการถดถอยที่ไม่รู้ตัวและไม่สามารถแก้ไขได้ สาเหตุหลักๆ คือ โครงสร้างเชิงระบบ เช่น สถานศึกษา บุคลากร อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้และงบประมาณไม่เพียงพอ ทำให้ครูไม่สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ด้วยเนื้อหาและภาระงานที่ค่อนข้างมาก ทำให้การจัดการเรียนรู้ของครูเน้นที่กระบวนการปฏิบัติมากกว่าความเข้าใจ เมื่อเด็กไม่เข้าใจสะสม ทำให้ยากต่อการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ ๆ ส่งผลให้เด็กเกิดการถดถอยทางการเรียนรู้อย่างสะสมเป็นระยะยาว

เห็นได้ว่า การถดถอยทั้ง 2 รูปแบบมีความสัมพันธ์กัน ฉะนั้น หลังจากที่โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนแบบปกติ ครูจึงมีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน ยกตัวอย่างการแชร์ประสบการณ์ในการฟื้นฟูการถดถอยทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยเริ่มจากการปรับความรู้พื้นฐานใหม่ ทบทวนบทเรียน สอดแทรกวิธีการและจัดกิจกรรมกระตุ้นความรู้เดิม เพื่อสะท้อนสู่ความรู้พื้นฐานของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการใช้แบบทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน (Prerequisite-Knowledge Test) การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้คำถาม (Questioning) การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล (Individual analysis) การทำแบบสอบถามความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน (Questionnaire) ทั้งนี้ ครูสามารถใช้วิธีการที่หลากหลายในการสำรวจ ทำความเข้าใจถึงความสามารถและความพร้อมทางการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนจากรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ประสบการณ์การเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกัน รวมไปถึงความพร้อมส่วนบุคคลหรือปัจจัยภายนอก และภูมิหลังครอบครัวที่แตกต่างกันได้

สำหรับแนวทางการดำเนินการเมื่อรู้ว่ามีความถดถอยของผู้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการดำเนินกิจกรรมให้กับนักเรียน ย่อมเกิดการเรียนรู้ผ่านความจำจากการสัมผัส (Sensory Memory) ซึ่งเป็นความจำระยะสั้นที่ต้องอาศัยความตั้งใจ (Attention) ถึงจะสามารถนำความจำไปใช้ปฏิบัติการได้ ถ้าหากมีการสร้างเนื้อหาเชื่อมโยงกับความจำหรือประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม นำมาฝึกฝน ปฏิบัติซ้ำๆ จะก่อให้เกิดทักษะและความจำที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้คงทนมากขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์ผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ แบบ A เป็นการสอนโดยการเฉลยบนกระดานทุกข้อ และแบบ B เป็นการสอนที่แสดงคำตอบที่มากกว่า 1 วิธี พบว่า การจัดการเรียนรู้ทั้งกลุ่ม A และ B ต่างเป็นการส่งผ่านความรู้จากครูสู่เด็ก (Passive Learning) แต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย อาจส่งผลให้เด็กเปิดเผยแนวคิดที่คลาดเคลื่อน (Misconception) ซึ่งส่งผลดีในการปรับเปลี่ยน แก้ไขที่จะนำไปสู่แนวคิดหลักทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องได้ ถือว่าเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ 

ทั้งนี้ การฟื้นฟูการถดถอยทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ จุดประสงค์หลักในการจัดการเรียนรู้จะต้องเป็นการซ่อมความรู้พื้นฐานของเด็กและสร้างความรู้ใหม่ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรม Active Learning ที่ใช้กระบวนการคิดสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมนั้น ๆ โดยที่ครูเป็นผู้จัดกิจกรรม 

ยกตัวอย่างกิจกรรมรื้อฟื้นความถดถอย เช่น กิจกรรม Warm Up Activity เป็นกิจกรรมที่ฟื้นฟูความถดถอยขั้นเริ่มต้น ครูสามารถใช้เวลาในการทำกิจกรรมในระยะเวลาสั้นๆ 10-15 นาที เพื่อเป็นการรื้อฟื้นการเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนได้ กิจกรรมการบวกจำนวนเต็มบวก 2 หลัก เป็นการสอนที่เน้นกระบวนการ (Procedural/Instrumental Understanding) ที่ทำให้เด็กรู้ว่ากระบวนการในการได้มาของคำตอบทำอย่างไร และการสอนที่เน้นกระบวนการ (Relational Understanding) เป็นกระบวนการสอนที่ว่าเด็กจะรู้คำตอบอย่างไร และทำไมถึงทำอย่างนั้นได้ รวมทั้งเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ อย่างไร ซึ่งทั้ง 2 กระบวนการเป็นการสอนที่สำคัญ แต่สิ่งที่ครูต้องคำนึงคือ การสอนแบบนี้จะอยู่ในช่วงไหนของการเรียนรู้ และกิจกรรม Walk Through the Number Line การเดินบนเส้นจำนวน เป็นต้น

สรุปได้ว่า ในการฟื้นฟูการเรียนรู้ของผู้เรียนมีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งวิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้ คือ การจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของกิจกรรมเล็กๆ หรือกิจกรรมเกม สิ่งที่สำคัญคือ ในขณะที่เด็กเล่นเกมหรือกิจกรรมนั้น ครูจะต้องสังเกตว่าเด็กถดถอยการเรียนรู้ด้านไหน และสิ่งไหนที่จะช่วยซ่อมได้ จากนั้นจึงทำการสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com

ครูเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์ ครูสอนคณิตศาสตร์ 

โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
4562 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ

ฉีกกฏการเรียนการสอนแบบเดิมด้วยเทรนด์การเรียนรู้แนวใหม่แบบสั้น ง่าย ได้ความรู้ กับเทคนิคการสอนแบบพอดีคำ เพื่อลดภาระและ ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ
Starfish Future Labz

Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ

Starfish Future Labz
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7204 ผู้เรียน

Related Videos

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
05:26
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
4020 views • 3 ปีที่แล้ว
มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
446 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
634 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
89 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]