การสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา

Starfish Academy
Starfish Academy 2878 views • 2 ปีที่แล้ว
การสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา

นวัตกรรม กับ นวัตกรรมทางการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันในความหมาย เพียงแต่นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับบริบททางการศึกษา โดยพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2462 ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรมการศึกษา” ว่าหมายความถึง แนวคิด วิธีการ กระบวนการ สื่อการเรียนการสอน หรือการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ ซึ่งได้มีการทดลองและพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือว่าสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการศึกษา และให้หมายรวมถึงการนำสิ่งดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาด้วย 

ดังนั้น การสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา จึงต้องมีองค์ประกอบครบ   3 ข้อดังกล่าวข้างต้น และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 สำหรับสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ดังปรากฏในหมวดที่ 1 มาตรา 5 ดังนี้

  1. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา และการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นๆ
  2. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา 
  3. กระจายอำนาจ และให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา รวมถึงสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหาร และการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
  4. สร้าง และพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

การพัฒนานวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อการแก้ปัญหาทางการศึกษา จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการออกแบบแบบเพชร 2 เม็ด (Double Diamond Design) เป็นการนำการคิดเชิงออกแบบของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมาผสมผสานกับการออกแบบแบบเพชร 2 เม็ด ของ UK Design Council ในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งสามารถแบ่งการทำงานออกเป็นสามช่วงใหญ่ ๆ ดังนี้ (ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์, 2560)  

1. การสร้างความเข้าใจ (Understand) เป็นการสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (Understanding ends in Insight) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้

  • 1.1 การสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (Empathy) เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของกระบวนการออกแบบ ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง คือการเข้าใจปัญหาเพื่อแก้ปัญหาที่เราพยายามแก้ไข ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าที่แท้จริง (Value Innovation)
  • 1.2 การตั้งกรอบโจทย์ (Define) เป็นขั้นตอนที่เราต้องนำข้อมูลทั้งหมด ที่หาได้จากขั้นตอนการสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (Empathy) มารวมกันเพื่อวิเคราะห์ความต้องการที่ชัดเจนของกลุ่มเป้าหมาย 

2. การสร้างสรรค์ (Create) การสร้างความคิดใหม่ ๆ (Creation ends in ideas)

การสร้างความคิด (Ideate) เป็นขั้นที่เราจะเริ่มนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ โจทย์ปัญหา ที่ชัดเจน มาสังเคราะห์เพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกใหม่ ๆ ที่ตอบสนสองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน และพร้อมสำหรับการนำไปสร้างต้นแบบต่อไป

3. เตรียมส่งมอบสู่ผู้ใช้ (Deliver) นำสู่การไปใช้ได้จริง (Delivery ends in reality) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้

  • 3.1 การสร้างต้นแบบ (Prototype) เป็นการถ่ายทอดความคิดให้เป็นรูปธรรมอย่างง่ายในเบื้องต้น เพื่อสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบ ที่คิดว่าจะตรงใจหรือโดนใจกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งาน 
  • 3.2 การทดสอบต้นแบบ (Test) เป็นกระบวนการทดสอบเพื่อพัฒนาและปรับแก้ต้นแบบให้ดีขึ้น 

หากผู้พัฒนานวัตกรรมเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง สามารถวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน นำมาสังเคราะห์เพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย จนสามารถพัฒนาต้นแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปของแนวคิด วิธีการ กระบวนการ สื่อการเรียนการสอน หรือการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถนำสู่การจัดการศึกษา และสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาได้ เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา ตลอดจนสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วน จะส่งผลต่อคุณภาพของพลเมืองไทย ให้มีความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลก และสามารถขับเคลื่อนสู่การยกระดับประเทศทั้งในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติการเมือง ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป

ปภาวรินท์  เรืองประจวบกุล

ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่

รายการอ้างอิง :

กฤษฎา เสกตระกูล. (2563). นวัตกรรม ความหวังใหม่ เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. ฉบับ 3,634 หน้า 5.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบ : เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ.

พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 102 – 104.

Baregheh, A. & Sambrook, S. (2009). Towards a Multidisciplinary Definition of Innovation. Management Decision. Researcgate.net.

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
2839 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

กล่องการเรียนรู้ Learning Box

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
กล่องการเรียนรู้ Learning Box
Starfish Academy

กล่องการเรียนรู้ Learning Box

Starfish Academy
2794 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Scenario Based Learning วิธีการเรียนแบบไม่ให้ Loss

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐาน ทำให้นักเรียน เรียนรู้ผ่านสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับความจริง และช่วยพัฒนาทักษะในการทำ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Scenario Based Learning วิธีการเรียนแบบไม่ให้ Loss
Starfish Academy

Scenario Based Learning วิธีการเรียนแบบไม่ให้ Loss

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
4562 ผู้เรียน

Related Videos

กล้าสอน KLA-SON  KN ENJOY MODEL
27:38
Starfish Academy

กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL

Starfish Academy
66 views • 2 ปีที่แล้ว
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL
ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED
25:11
Starfish Academy

ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED

Starfish Academy
164 views • 2 ปีที่แล้ว
ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED
ฝ่าประเด็นท้าทาย "ผู้อำนวยการ"
03:30
Starfish Academy

ฝ่าประเด็นท้าทาย "ผู้อำนวยการ"

Starfish Academy
2430 views • 2 ปีที่แล้ว
ฝ่าประเด็นท้าทาย "ผู้อำนวยการ"
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
89 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]