ออกแบบการสอนอย่างไร? ให้ตอบโจทย์ประเด็นท้าทายเกณฑ์ วPA

ออกแบบการสอนอย่างไร? ให้ตอบโจทย์ประเด็นท้าทายเกณฑ์ วPA

การออกแบบการสอนที่หลากหลาย ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่สามารถนำไปใช้กับนักเรียน เพื่อให้มีห้องเรียนเป็นของตนเองอย่างแท้จริง และเพื่อให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้จากการนำหลัก 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง ทั้งนี้ ในช่วงปิดภาคเรียน ครูจึงต้องทำการวางแผนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และถ้ากล่าวถึง วPA ต้องมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นท้าทาย เนื่องจากในภาคเรียนที่ 1 ครูต้องมุ่งที่ประเด็นท้าทายในการเริ่มปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้เด็กเกิดสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 (บ้านคลองควน) จ.สุราษฎร์ธานี โรงเรียนต้นเรื่องในครั้งนี้ โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-demand Online และ On-site ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปิดการสอนในระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 64 คน ดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิดโรงเรียนสุขภาวะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน โรงเรียน สภาพแวดล้อม ชุมชนและครอบครัวเป็นสุข เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการสร้างเสริมให้กับผู้เรียนเป็นสุขทุกคน โดยมีนวัตกรรมที่ใช้ในกระบวนการทั้งการบริหารจัดการและการเรียนการสอนหลัก 3 ตัว คือ 

1) นวัตกรรม “จิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน” 

2) PBL การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

3) PLC การสร้างชุมชนเรียนรู้แห่งวิชาชีพ สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 ลักษณะ คือ ช่วงเช้าเป็นการสอนรายวิชาหลัก ช่วงบ่ายเป็นการสอนแบบบูรณาการใช้กิจกรรมจิตศึกษาและจิตวิทยาเชิงบวกในการสอน ด้านการเตรียมจัดการเรียนการสอน การทำแผนการสอน โรงเรียนได้ดำเนินการทบทวนการสอนเพื่อเตรียมตัวในการเปิดภาคเรียน 

โดยการประชุมร่วมกันกับคณะครู และมีผู้อำนวยการเป็นผู้นำในการ PLC มีการใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการสื่อสาร ซึ่งเป็นการสะท้อนตนเองถึงสิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่อยากปรับปรุงแก้ไข และแนวทางในการพัฒนาของครูทุกคน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น ยกตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นป.1 พบว่า เดิมนักเรียนจำพยัญชนะไม่ได้ อ่านและผสมคำไม่ได้ จึงได้ทำการตั้งเป้าในการจัดการเรียนรู้ คือ การอ่านออก-เขียนได้ เพื่อปูพื้นฐานในการเรียนระดับชั้นป.2 ซึ่งในภาคเรียนที่ผ่านมายังไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ และในปีการศึกษาต่อมา ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหามากขึ้นเพื่อให้นักเรียนสามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้

สำหรับประเด็นท้าทายตามเกณฑ์ วPA เนื่องจากเป็นโรงเรียนนำร่อง จึงขอแชร์ประสบการณ์ในการเขียนข้อตกลง โดยการนำปัญหาที่พบมาเขียนเป็นประเด็นท้าทาย ซึ่งครั้งแรกที่ได้ทำการเขียน PA กคส.ยังไม่ได้ประกาศใช้ จึงได้นำแบบฟอร์ม (ฉบับร่าง) วPA ให้ครูทดลองเขียน PA ของตนเองตามความเข้าใจและส่งกลับไปยัง กคส. ซึ่งได้รับคำแนะนำเพื่อนำกลับมาแก้ไข โดยการทำ PLC ร่วมกันภายในโรงเรียน จึงได้ข้อสรุปในการเขียนข้อตกลง วPA ตามปีงบประมาณ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งของครู 

ส่วนที่ 2 ประเด็นท้าทาย 

ทั้งนี้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึง คือ วิทยฐานะของครูซึ่งจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระดับปฏิบัติการที่คาดหวังในแต่ละระดับของวิทยฐานะ และสภาพปัญหาของผู้เรียน เทคนิค วิธีการในการแก้ปัญหา เพื่อทำเป็นประเด็นท้าทายที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและนักเรียน ครูต้องทำการพูดคุย ขอคำแนะนำจากผู้อำนวยการ เพื่อให้ปัญหาที่พบมีความเจาะจงมากขึ้น และการทำข้อตกลงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้น จึงนำมาเขียนเป็นประเด็นท้าทาย และแจกแจงรายละเอียดภาระงานในส่วนที่ 1 ทั้ง 3 ด้าน (การจัดการเรียนรู้ การสนับสนุน และการพัฒนาตนเอง) เพื่อออกแบบการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงไปสู่แผนการสอน

ในส่วนของงานด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน (มี 8 ตัวชี้วัด – สร้างหลักสูตร ศึกษาพัฒนาหลักสูตร สร้างสื่อ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ วัดและประเมินผล และอบรมจริยธรรมนักเรียน) ซึ่งในแผนการสอนสามารถเขียนให้ปรากฎทั้ง 8 ตัวชี้วัดได้โดยการที่ครูส่งแผนการสอน คลิปวิดีโอที่สอดคล้องกับแผนการสอน และผลลัพธ์ของผู้เรียนที่จะปรากฎในภาระงานตามข้อตกลง สำหรับเทคนิคและวิธีการสอนในการจัดการเรียนการสอนมีอยู่ 3 ขั้น คือ ขั้นนำ (ชง) เป็นการนำกิจกรรมมาใช้ตามบริบทของโรงเรียน ขั้นสอน (เชื่อม) เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมและใหม่ของเด็ก เพื่อนำไปสู่การต่อ

ยอดความรู้ใหม่ ขั้นสรุป (ใช้) เป็นขั้นตอนการสะท้อนคิด การจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและ นักเรียน ตลอดระยะเวลา 1 คาบเรียน 

จะเห็นได้ว่า การทำ วPA เป็นสิ่งที่ครูทุกคนสามารถทำได้ หากมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การใช้ปัญหาที่พบเป็นประเด็นท้าทาย และนำมาเขียนในภาระงาน 3 ด้าน ซึ่งนำไปสู่การเชื่อมโยงแผนการสอนและสื่อการสอน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้กับผู้เรียน ทั้งนี้ การทำ วPA ไม่ใช่การทำวิจัย แต่เป็นการแก้ปัญหาที่มีกระบวนการเป็นของตนเอง ถ้าหากครูสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ วPA ก็คือหนึ่งในภาระงานที่ครูได้ดำเนินการอยู่แล้วในกิจวัตรประจำวัน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.youtube.com/watch?v=tnuMfRuOczE

ครูเสาวรส ส้มพลอย 

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 (บ้านคลองควน) จ.สุราษฎร์ธานี

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5226 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7204 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning

เรียนรู้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครูในการประเมิ ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2291 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3161 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
800 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1275 views • 3 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
1224 views • 3 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร
11:30
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
11296 views • 3 ปีที่แล้ว
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร