Q-Info กับการพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน

Starfish Academy
Starfish Academy 3232 views • 2 ปีที่แล้ว
Q-Info กับการพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน

PLC Happy Hour Live Online ครั้งที่ 6 โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ “Q-Info กับการพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน”

ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดระบบทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือสำคัญก็คือ Q-Info ระบบสารสนเทศที่ถือเป็นระบบฐานข้อมูลที่สำคัญในการต่อยอดการพัฒนาได้ในหลายมิติ และกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในหัวข้อ “Q-Info กับการพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน” เพื่อช่วยสนับสนุนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้กับโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Q-Info เป็นระบบสารสนเทศที่ออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยกระบวนการเริ่มต้นได้รวบรวมความต้องการของครูและโรงเรียน ซึ่งพบว่าครูมีภาระงานที่มาก ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร หรืองานสอนต่างๆ ฉะนั้น ในการออกแบบระบบเพื่อช่วยลดภาระงานของครู ทั้งการออกแบบการเรียนรู้ การเช็คชื่อ การประมวลผลแต่ละรายวิชา ซึ่ง Q-Info สามารถให้ครูทำงานในรูปแบบเดิมได้เพียงแต่เปลี่ยนจากการบันทึกลงกระดาษเป็นการบันทึกลงในระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ ประโยชน์ของระบบการบันทึกในสารสนเทศ คือ 

1) ช่วยลดภาระงานของครูในการประมวลผลข้อมูลและการเขียนเอกสาร ปพ. 

2) ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบ Real-time ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันที 

3) ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมของโรงเรียนผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาวางแผนของโรงเรียนได้ ส่วนประโยชน์โดยอ้อมที่จะเกิดขึ้น หลังจากการใช้งานระบบ คือ การใช้ – ส่งต่อข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมถึงสามารถใช้ระบบเป็นสื่อกลางระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง ในการตรวจสอบและสื่อสารได้

นอกจากนี้ ระบบ Q-Info ยังสามารถช่วยพัฒนาโรงเรียนและพัฒนาครูให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ทั้งระบบอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้บริหารที่สามารถดูภายรวมขององค์กร เจ้าหน้าที่ Admin ในการดูแลระบบ งานทะเบียน/วัดผลในการจัดทำปฏิทิน ตารางสอน การจัดทำเอกสารปพ. ส่วนของครูดำเนินการในเรื่องของงานเอกสารทางวิชาการ และสิ่งที่ได้รับการพัฒนาคือการที่ผู้ปกครองได้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาของข้อมูลในรูปแบบ Real-time สำหรับประโยชน์ของระบบ Q-Info ที่เห็นได้ชัด คือ การช่วยลดภาระการจัดทำเอกสารปพ.5, ปพ.6 ของครูผู้สอน การจัดทำเอกสารรับรองการเป็นนักเรียน สรุปการจัดการข้อมูลวิชาการ การบันทึกการมาเรียนของนักเรียน และครูยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาตนเองได้ ทั้งนี้ สำหรับฝ่ายบริหารสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวางแผนในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของนักเรียนจะได้รับประโยชน์ทางตรง คือ นักเรียนสามารถทราบคะแนนและทำการพัฒนา ปรับปรุงในด้านการเรียนของตนเองได้อีกด้วย

จากการใช้งานระบบ Q-Info ในบทบาทของผู้อำนวยการมีส่วนในการขับเคลื่อนการใช้ระบบ โดยการการศึกษาการใช้งานของระบบ Q-Info การวางบทบาท ตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรในระบบ Q-Info ทั้ง 4 งาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ Admin ผู้บริหาร ครูผู้สอน งานทะเบียนและวัดผล เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการทำงานของระบบ Q-Info ในตำแหน่งต่างๆ สำหรับในการพัฒนาของ Q-Info ของโรงเรียน ผลสรุปการทำงานภายใน 1 ปี ในรูปแบบรายงาน SAR ของโรงเรียน ทำให้ทราบว่ามาตราฐานของโรงเรียนตอบโจทย์หรือไม่ กระบวนการมาตรฐาน แผน หรือการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร อีกทั้งยังสามารถนำสถิติต่างๆ มาเป็นส่วนประกอบในการเขียนรายงาน SAR ได้ ในบทบาทของครูผู้สอน การทำข้อมูลต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันทั้ง 3 ส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเช็คชื่อนักเรียนแบบรายวันและแต่ละรายวิชา การลงข้อมูลโภชนาการ น้ำหนัก ส่วนสูง และการลงคะแนนตัวชี้วัด เพื่อความสะดวกในการประมวลผลและจัดทำเอกสารปพ.5 และปพ.6 ได้ ทั้งนี้ จากการกรอกข้อมูลต่างๆ โรงเรียนได้มีการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล แก้ไขปัญหาให้กับเด็กต่อไป สำหรับบทบาทของฝ่ายวิชาการ ก่อนที่จะนำระบบมาใช้ได้มีการประชุม ชี้แจง การสาธิตวิธีการใช้งานทุกขั้นตอน เพื่อให้คณะครูสามารถที่จะนำไปใช้ได้ทุกคน สำหรับในส่วนของวิชาการที่ต้องทำ คือ การทำปฏิทินการศึกษาของโรงเรียน การลงวิชาเรียนให้กับคณะครู (ตารางสอน) ตรวจเช็คปัญหาการลงข้อมูล และการลงข้อมูลย้อนหลังและล่วงหน้าเพื่อให้ระบบสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับการใช้งานระบบ Q-Info พบว่ายังมีอีกหลายโรงเรียนยังไม่ได้เริ่มใช้และมักจะเกิดความกังวลในเรื่องการซ้ำซ้อนของระบบ หรือความต่อเนื่องของระบบเมื่อมีการนำระบบไปใช้งาน ซึ่งที่ผ่านมาจากการที่หลายโรงเรียนได้นำระบบไปใช้ พบว่า ไม่เกิดความซ้ำซ้อนของระบบ ไม่ว่าจะเป็น DNC ที่สามารถดึงข้อมูลไปยัง Q-Info ได้ ซึ่งเป็นข้อดีในการช่วยตรวจสอบว่าข้อมูลที่ดึงมาจาก DNC มีความถูกต้องในระบบ Q-Info หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของเลขบัตรประจำตัว ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งจะทำให้พบข้อผิดพลาดและสามารถแก้ไขได้ทันที ในส่วนของ Schoolmis การทำเอกสาร

ปพ.1 สามารถ Export ข้อมูล ทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น และในเรื่องของข้อมูลปัจจัยนักเรียนพื้นฐานยากจนได้มีการเชื่อมต่อน้ำหนัก ส่วนสูงเข้าด้วยกัน ทำให้ครูไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน สำหรับโรงเรียนที่มีการนำมาใช้ในระยะแรก จะพบปัญหาในเรื่องของความเข้าใจ ความรู้ในการใช้งานระบบทั้งจากตัวบุคคลและจากระบบโปรแกรม ซึ่งโรงเรียนอาจดำเนินการทำ PLC ร่วมกัน สิ่งที่สำคัญ คือ การนิเทศของผู้อำนวยการในการให้ความสนใจ ดูแลถึงปัญหาในการดำเนินการต่างๆ ของระบบ ซึ่งจะช่วยให้การนำระบบไปใช้มีความคล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้ สามารถสอบถามไปยัง Admin ในกลุ่มไลน์ Q-Info จังหวัดเชียงใหม่ได้

ทั้งนี้ ระบบ Q-Info ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น 

1) การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศของต้นสังกัด เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 

2) SAR ระดับโรงเรียน Q-Info จะประมวลผลข้อมูลที่มีอยู่ในระบบและข้อมูลที่ดึงมาจากแหล่งอื่นๆ ให้โรงเรียนสามารถที่จะนำไปใช้ในการทำ SAR ได้ 

3) แอปพลิเคชั่น Q-Parent สำหรับผู้ปกครองสามารถดูผลการเรียนของบุตรหลานตัวเองได้ 

4) เมนู FEQ คู่มือวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ 

5) การจัดทำและประมวลผลแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ให้สามารถบันทึกข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น การทำ SAR ของครู การปรับปรุง Student Profile เพื่อให้ครูสามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการ Q-Info ปีที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาหลักเกิดจากความยากในการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ซึ่งขอเสนอแนะแนวทาง 3 ด้านในการแก้ปัญหาการใช้งาน Q-Info คือ เปิดใจ (รับการเปลี่ยนแปลง) ร่วมใจ (มองเป้าหมายร่วมกัน) และใส่ใจ (ติดตาม ดูแล คอยช่วยเหลือแก้ปัญหา) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในระบบสารสนเทศ ต่อยอดไปสู่การขับเคลื่อนโรงเรียนด้วยระบบข้อมูล ซึ่งเป็นแนวทางในการใช้ระบบ Q-Info ได้อย่างยั่งยืนต่อไป สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ fb.watch/bYQmuZNSV-/

ผอ.สุนิสา คงสุวรรณ โรงเรียนวัดดอนพุดซา

ครูชาลินี กุมารแก้ว โรงเรียนวัดหนองยาว

อาจารย์ภานุพงศ์ สอนคม 

อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ครูดำรงศักดิ์ อุ่นทา โรงเรียนบ้านแม่ปั๋ง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
Starfish Academy

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
474 views • 3 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
06:40
Starfish Academy

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน

Starfish Academy
532 views • 2 ปีที่แล้ว
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
15063 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1591 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง