PLC Happy Hour Live Online ครั้งที่ 5 "PLC ภายในโรงเรียน"

Starfish Academy
Starfish Academy 965 views • 2 ปีที่แล้ว
PLC Happy Hour Live Online ครั้งที่ 5 "PLC ภายในโรงเรียน"

กิจกรรม PLC Happy Hour Live Online ครั้งที่ 5 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง 

รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ PLC ภายในโรงเรียน

จากการจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้สถานศึกษาต้องมีการปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของนักเรียน โรงเรียน เพื่อให้การเรียนรู้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูลถึงลักษณะ PLC ที่โดนเด่นของแต่ละโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม PLC ร่วมกัน โดยโรงเรียน

วัดบ้านม้า สังกัด สพป.ลำพูน เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความโดดเด่นในด้านการ PLC การทำงานเป็นทีม การลงมือปฏิบัติจริง และที่สำคัญคือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC คือ การร่วมมือกันของครู ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการดำเนินการในรูปแบบ PLC นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

สำหรับบทบาทหน้าที่ของครูในการทำกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภายในโรงเรียน ได้มีการกำหนดบทบาทของครูอย่างชัดเจนทั้ง 5 บทบาท ดังนี้ 

1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีบทบาทเป็น Administrator Teacher ซึ่งจะเป็นผู้ที่รับรองการจัดกิจกรรม PLC ให้เป็นชั่วโมงการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่ กสศ. กำหนด

2) ครูผู้สอน (Model Teacher) ครูทุกคนจะสร้างรูปแบบการสอนของตนเอง และนำมาแลกเปลี่ยนประเด็นที่ตนเองถนัดในชั้นเรียนนั้นๆ  

3) ครูร่วมเรียนรู้ (Buddy)  

4) ฝ่ายวิชาการ/หัวหน้ากลุ่มสาระ (Mentor Teacher) เป็นครูพี่เลี้ยง ครูผู้นำ ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือครูในทีมในการจัดกิจกรรม PLC 

5) ผู้เชี่ยวชาญ (Expert Teacher) เป็นครูผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ชี้แนะหลักวิชาการที่นำมาเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ นำไปสู่นวัตกรรมของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ทั้งนี้ โรงเรียนได้มีเทคนิคในการทำงานร่วมกัน โดยดำเนินการตามโมเดลการบริหารงานของสถานศึกษา “Watbanma Model” ซึ่งครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำโมเดลดังกล่าว เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา ประกอบด้วย 

  • Work Together (W) การวางแผนการจัดการศึกษาร่วมกัน
  • Active Learning (A) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
  • Technology and Coding (T) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและโค้ดดิ้ง 
  • Best Practice (B) ส่งเสริมครูให้มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
  • Attitude (A) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเจตคติเชิงบวก 
  • Network (N) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และใช้กระบวนการ PLC 
  • Morality (M) ส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรม 
  • Apply for life skills (A) ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะอาชีพ ทั้งนี้ จุดเน้นที่สำคัญของโรงเรียน คือ Network (N) โรงเรียนได้มีเครือข่ายในการจัดกิจกรรม PLC ร่วมกันทั้งในและนอกสถานศึกษา มีการให้คำปรึกษาโดยเพื่อนครูและที่ปรึกษาทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 

ด้านการวางแผนในการทำงานของโรงเรียนวัดบ้านม้า ได้ดำเนินการจัดการ PLC ตามกระบวนการ PDCA โดยมีขั้นตอนดังนี้

1) การวางแผน ประกอบด้วย 

1.1) การจัดประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม PLC 

1.2) ดำเนินกิจกรรม PLC ตามรูปแบบ สพฐ. 7 ขั้นตอน ดังนี้ 

  • ขั้นที่ 1  ตั้งกลุ่มร่วมปณิธาน เป็นลักษณะกลุ่มคละช่วงชั้นและกลุ่มสาระ มี 3 กลุ่ม ดังนี้ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
  • ขั้นที่ 2   ค้นหาปัญหา/ความต้องการ 
  • ขั้นที่ 3   ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา 
  • ขั้นที่ 4   ออกแบบกิจกรรม/วิธีการ/กระบวนการ/นวัตกรรม 
  • ขั้นที่ 5   แลกเปลี่ยนเสนอแนะ 
  • ขั้นที่ 6   นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนาผู้เรียน จะดำเนินการทั้งหมดจำนวน 3 วงรอบ เพื่อให้ทราบถึงการพัฒนามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งแต่ละวงรอบจะประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม (P-การตั้งวงสนทนาแลกเปลี่ยน D-ปรับปรุงแผนฯใหม่/กระบวนการสอนใหม่ C-เยี่ยมชั้นเรียน A-การสะท้อนผลการปฏิบัติ)
  • ขั้นที่ 7 สะท้อนผล AAR (After Action Review) ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อทำให้รู้ว่า สิ่งที่ทำได้ดีและควรรักษาไว้ให้มีต่อไปคืออะไร เป้าหมายเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ และปัญหา อุปสรรคระหว่างทำงานมีอะไร ได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรม แนวทางการนำไปปรับปรุงครั้งต่อไป และข้อควรพึงระวังที่ควรให้ความสำคัญ (ถ้ามี)

2) สรุปรายงานและเผยแพร่กิจกรรม PLC  

3) การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบผลการปฏิบัติ 

4) การพัฒนาปรับปรุงแก้ไข

สำหรับเครื่องมือ/กระบวนการ/รูปแบบและเทคนิคในการดำเนินกิจกรรม PLC ให้ประสบความสำเร็จ โรงเรียนวัดบ้านม้าได้ดำเนินการดังนี้ 

  • ประกาศ/คำสั่ง กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 
  • หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญในการเข้าร่วมกิจกรรม PLC เพื่อร่วมวิพากษ์เกี่ยวกับนวัตกรรมที่ครูแต่ละกลุ่มได้พัฒนาขึ้นมา 
  • ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรม PLC เพื่อให้คณะครูทราบเป้าหมายร่วมกันและเข้าใจระยะเวลาดำเนินการร่วมกัน 
  • ดำเนินกิจกรรม PLC ตามแผนการดำเนินงานของ สพฐ. 7 ขั้นตอน 
  • รายงานผลดำเนินกิจกรรม PLC โดยทำเป็นสมุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ให้กับครูทุกคนในโรงเรียน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงวิธีการ กระบวนและผลลัพธ์ในการทำของครูแต่ละคน 
  • การเผยแพร่กิจกรรม PLC ซึ่งจะมีการเผยแพร่ 2 รูปแบบ คือ On-site โดยการจัดบูธนำเสนอผลงานในงานประชุมเชิงวิชาการต่างๆ การทำห้อง PLC เพื่อเผยแพร่ผลงานของครูและแลกเปลี่ยนความรู้จากสิ่งที่เกิดจากนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนทั้งในและต่างเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการเผยแพร่กิจกรรมในรูปแบบ Online ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Group Line, Youtube เป็นต้น 

จากการดำเนินกิจกรรม PLC พบว่า ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และยังได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ในส่วนของครูผู้สอนมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ยกระดับความสามารถครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ยกระดับความสามารถครูในการพัฒนานวัตกรรม และครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านโรงเรียน พบว่า เกิดระบบการทำงานที่เข้มแข็งภายใต้โมเดลการบริหารงาน “Watbanma Model” และโรงเรียนเกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้น ที่สำคัญโรงเรียนเป็นต้นแบบกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และได้มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพทั้งภายในสถานศึกษา ต่างเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า ในการทำ PLC เป็นการแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ และช่วยเหลือกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร ทั้งนี้ หัวใจหลักสำคัญในการทำ PLC คือ การพูดคุยสื่อสารร่วมกันภายในองค์กร การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นและมีความเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพและสามารถพัฒนาได้ การทำงานเป็นทีม และมีที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำ เติมเต็มในการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายของสถานศึกษา เครือข่ายของเพื่อนครู ในการร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ครู และโรงเรียน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/StarfishAcademy2019/videos/1123051795213065/

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7204 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5226 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
4562 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
800 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1275 views • 3 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1591 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
89 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]