เมื่อสื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือในการสร้างเพื่อนใหม่ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่าในชีวิตประจำวันของเรานั้นมักจะใช้โซเชียลเพื่อติดต่อสื่อสาร หรือทำธุรกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งการอัพเดทชีวิตประจำวันให้กับคนอื่นๆ ได้รู้ เช่น การถ่ายรูปลูกแล้วติดชื่อโรงเรียน หรือการเช็คอินสถานที่ต่างๆ อย่างที่บ้าน แต่บนโลกออนไลน์คุณพ่อคุณแม่อาจจะลืมไปเลยนะคะว่านอกจากคนที่รู้จักแล้ว ก็ยังมีคนที่เราไม่รู้จักด้วย อีกทั้งคนไม่ประสงค์ดีก็มีเยอะแยะถมไป
ส่งผลให้บางครั้งก็อาจจะเกิดการคุกคามบนโลกโซเชียลโดยไม่รู้ตัวก็ได้ หรือที่เรียกว่า “Cyberstalking” นั้นเอง แล้วพฤติกรรมไหนบ้างล่ะที่คุณพ่อคุณแม่คิดว่ามันจะสามารถนำไปสู้การทำให้เกิด Cyberstalking กับตัวของลูกเราได้บ้าง วันนี้เราเลยมารวบรวมพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิดเจ้าสิ่งนี้กัน พฤติกรรมเหล่านั้นได้แก่
1.พ่อแม่มักโพสต์ทุกอย่างบนโลกโซเชียลเกี่ยวกับลูก
ซึ่งพฤติกรรมนี้ก็จะเห็นกันได้ง่ายๆ เลยนะคะ เช่น การถ่ายรูปต่างๆ เพื่ออัพเดทไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันต่างๆ เพื่อให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ การเช็คอินสถานที่อย่างโรงเรียนของลูก การถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม จริงๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่เวลาถ่ายรูปควรจะปิด Geo-tagging หรือปิด Metadata ของรูปถ่ายเพื่อปกปิดข้อมูลส่วนตัว และหลีกเลี่ยงการเช็คอินสถานที่ต่างๆ อย่างโรงเรียนของลูกหรือแม้กระทั่งสถานที่ใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันการถูกติดตามจากผู้ไม่หวังดีนั้นเอง
2.เวลาโพสต์มักจะตั้งค่าเป็นสาธารณะทั้งหมด
คุณพ่อคุณแม่บางคนยังไม่ทราบเรื่องนี้ดีนัก การตั้งค่าความเป็นสาธารณะมักจะเกิดขึ้นได้เสมอ ทำให้เวลาโพสต์อะไรก็ตามนอกจากคนที่เพื่อนได้เห็นการอัพเดทแล้วคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนหรือคนไม่หวังดี ก็สามารถเห็นสิ่งที่เราอัพเดทได้เช่นกัน อย่างการโพสต์เช็คอินว่ามาส่งลูกที่โรงเรียน...แล้ว หรือวันนี้อยู่ที่นี่กับลูก เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรที่จะจำกัดการแชร์เฉพาะกลุ่ม เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท ตั้งค่าไม่ให้คนอื่นค้นหาโปรไฟล์เมื่อค้นหาชื่อจริงๆ ของเรา รวมทั้งป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเห็นโพสต์หรือรูปภาพที่เป็นส่วนตัวได้จะเป็นเรื่องดี
3.เมื่อใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะควร Log out ออกจากระบบทุกคร้้ง
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ ยิ่งเป็นคอมพิวเตอร์บริษัท ยิ่งต้องทำการ Log out ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้ว เพราะคอมพิวเตอร์สาธารณะเราจะไม่รู้ตัวหรอกว่าอาจจะถูกติดตามได้ ทำให้บางคนสามารถแอบอ่านข้อความต่างๆ เห็นกิจกรรมต่างๆ ของเราจากคอมพิวเตอร์ที่เราลืม Log out หรือบางครั้งก็สามารถแอบเปิดกล้องเพื่อการสอดแนมก็ยังได้เลยนะคะ น่ากลัวจริงๆ ค่ะ
4.ใช้รหัสผ่านที่เดาได้ง่ายเหลือเกิน
บางคนยิ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่การจำรหัสผ่านเป็นเรื่องที่ยาก เพราะจะทำให้เกิดการหลงลืม บาคนก็ใช้วันเกิดนี่แหละในการตั้งรหัสผ่านต่างๆ ในทุกๆ อีเมล์ซึ่งเป็นการคาดเดาที่ง่ายมากๆ หรือการใช้เบอร์โทรศัพท์เป็นรหัสผ่าน หรือชื่อสัตว์เลี้ยงก็เป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะประวัติส่วนตัวของแต่ละคนเพียงแค่ค้นหาทางอินเทอร์เน็ตก็มีขึ้นมาแล้ว เพราะฉะนั้นควรตั้งรหัสที่มีความยาว 12-14 ตัวอักษรขึ้นไป โดยให้มีตัวอักษะใหญ่และเล็ก รวมไปถึงตัวเลขด้วย เพื่อคววามปลอดภัยในบัญชีออนไลน์ของคุณพ่อคุณแม่นั้นเองค่ะ
5.รับเพื่อนในโลกออนไลน์โดยไม่รู้จัก
อันนี้ยิ่งหน้ากลัวเลยนะคะ การรับเพื่อนที่ไม่รู้จักเป็นอันตรายอย่างมาก เราไม่สามารถรู้เลยว่าคนที่มาเป็นเพื่อนกับเราบนโลกออนไลน์นั้นเขาใช้ข้อมูลหรือรูปของเขาจริงๆ หรือเปล่า บางคนตั้งบัญชีออนไลน์มาเพื่อโกหก และหลอกคนก็มีเยอะแยะไป เพราะฉะนั้นเวลารับเพื่อนบนโลกออนไลน์คุณพ่อคุณแม่ควรรับคนที่รู้จักจริงๆ เท่านั้น หรือหากมีการโต้ตอบทางข้อความให้นัดพบหรือคุกคาม ห้ามโต้ตอบเด็ดขาด
6.แชร์รหัสผ่านให้คนที่รู้จักทราบ
ถึงแม้จะเป็นคนที่รู้จัก เป็นสามี หรือญาติพี่น้อง ก็ห้ามแชร์เลยนะคะ เพราะอาจจะถูกลักลอบเข้าระบบและสร้างความเสียหายได้ ทางที่ดีควรเปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีออนไลน์บ่อยๆ และตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ เพื่อความปลอดภัยของบัญชีคุณพ่อคุณแม่นะคะ
7.กด “Accept” หรือ “อนุญาต” อย่างรวดเร็ว
ก่อนจะทำการสมัครอะไร คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะละเลยในส่วนนี้ไป แล้วพร้อมที่จะกดข้ามโดยกด accept อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้ดูเงื่อนไขที่ระบุไว้ บางคนอาจจะต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัวอะไรบางอย่างอย่างเช่น รูปภาพ เบอร์โทรศัพท์ วันเกิด เพศ การศึกษา รหัสบัตรเครดิต ต่างๆ พวกนี้ หากเรากด accept หรืออนุญาตแล้ว เท่ากับว่าเราสามารถให้ข้อมูลต่างๆ เรานี้อย่างเต็มใจ ซึ่งมันสามารถนำไปแฮ็ก และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้เลยนะคะ เพราะฉะนั้นไม่อยากให้ข้อมูลรั่วไหลและเป็นอันตรายกับคนในครอบครัวและตัวเรา ก่อนจะกดก็ต้องพิจารณาอย่างรอบครอบก่อนนะคะ
Related Courses
How to วิธีการพัฒนาและรู้จักตนเอง
การรู้จักตัวตนที่เป็นตัวเราจริงๆ รู้ว่าเราเป็นใครและอยากทำอะไร ก็จะส่งผลให้เรามีความมั่นใจ พร้อมค้นหาวิธีพัฒนาตนเองและเข้า ...



ตำหนิอย่างไรไม่ให้เสียความเชื่อมั่นในตนเอง
การตำหนิผู้อื่น การวิพากษ์ วิจารณ์ หาข้อตำหนิผู้อื่นเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป “คงไม่มีใครที่ ไม่เคยถูกตำหนิ และไม่มีใคร ไม่ตำหนิผู้อื่น” ...



การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...



ฝึกทักษะ Empathy บนโลกออนไลน์
การเอาใจเขามาใส่ใจเราบนโลกออนไลน์เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีจริยธรรม เพราะทักษะการเอาใจ ...



Related Videos


เด็กดีสร้างได้ : การเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงบริหารและส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก


TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

