ชวนลูกคิด เหตุผลแบบไหนที่ไม่ใช่เหตุผล

Starfish Academy
Starfish Academy 7327 views • 4 ปีที่แล้ว
ชวนลูกคิด เหตุผลแบบไหนที่ไม่ใช่เหตุผล

เวลาเด็กๆ ได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บางครั้งอาจจะมีข้อมูลที่ตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทำให้ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้ปกครองว่าเรื่องไหนควรตัดสินใจเชื่อ หรือเรื่องไหนควรคิดให้รอบด้านก่อนตัดสินใจ แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถอยู่กับเด็กๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการปลูกฝังให้เขามีหลักคิดที่เป็นเหตุเป็นผลตั้งแต่ต้น จะช่วยให้เขากลายเป็นคนที่รู้จักคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และไม่หลงเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องได้ง่ายๆ

ขอบคุณภาพจาก jambulboy

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่อยากจะปลูกฝังทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้กับเด็กๆ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน วันนี้เรามีหลักการที่สามารถนำไปปรับใช้กับการสอนลูกให้คิดอย่างมีเหตุผลได้ ซึ่งหลักการนี้เรียกว่า ตรรกะวิบัติ หรือ Fallacy นั่นเอง

ตรรกะวิบัติ (Fallacy) คืออะไร ?

ตรรกะวิบัติ หรือ Fallacy เป็นการอ้างเหตุผลที่บกพร่อง ไม่สมเหตุสมผล โดยในบทความนี้เราจะขอพูดถึงตรรกะวิบัติทางจิตวิทยา (Psychological Fallacy) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฟังเผินๆ แล้วดูเหมือนจะน่าเชื่อถือ หรือชวนให้เรารู้สึกคล้อยตาม แต่จริงๆ แล้วไม่ได้สมเหตุสมผลในเชิงตรรกะ หากแต่เป็นการอ้างเหตุผลทางความรู้สึก (emotional appeal) แทน เช่น การใช้ความสงสาร การใช้ความกลัว เพื่อให้ผู้ฟังยอมรับเหตุผลนั้น แม้จะไม่สมเหตุสมผล โดยตรรกะวิบัติทางจิตวิทยานี้ สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวันตั้งแต่โฆษณาชวนเชื่อไปจนถึงบทสนทนาระหว่างวันเลยทีเดียว

จะเกิดอะไรขึ้น...ถ้าเราใช้เหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผล ?

ตรรกะวิบัติทางจิตวิทยามักเกิดจากอคติ (bias) ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะอคติ (bias) จะช่วยให้เราไม่เสียเวลาเริ่มต้นวิเคราะห์หรือแยกแยะสิ่งต่างๆ หลายๆ รอบ อย่างเวลาโดนมีดบาดมือครั้งแรก เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ และมองมีดในฐานะของมีคมที่อันตรายมากกว่าของเล่น ซึ่งก็นับเป็นข้อดีได้เหมือนกัน แต่บางทีก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาตรรกะวิบัติได้ อย่างเวลาพ่อแม่บอกว่า“ถ้ากินข้าวไม่หมด คุณลุงข้างบ้านจะจับไปกินนะ” พอโตขึ้นเด็กๆ ก็อาจจะเชื่อมโยงการกินข้าวหมดกับความกลัว แทนที่จะเป็นการนึกถึงผลกระทบจากการกินข้าวไม่หมด แถมยังแอบกลัวคุณลุงข้างบ้านเพราะเข้าใจผิดไปว่าคุณลุงจะจับเขาไปกินจริงๆ

ดังนั้น การใช้เหตุผลทางความรู้สึก หรือตรรกะวิบัติทางจิตวิทยาดังกล่าวจึงส่งผลต่อชีวิตประจำวันทั้งของเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ เช่น

  • การอาจจะเข้าใจหรือตีความสิ่งต่างๆ คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง รวมทั้งตกเป็นเหยื่อของข่าวสารที่ไม่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลเท็จต่างๆ
  • ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใช้เหตุผลเหล่านี้คุยกับลูก อาจจะทำให้พวกเขาทำตาม เพราะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่ถูกต้อง และนำไปใช้กับเพื่อน โรงเรียน หรือสังคมภายนอก จนอาจจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
  • เมื่อไม่ได้พูดคุยกันด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ หรือหลักฐานที่พิสูจน์ได้ อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น เพราะกลายเป็นข้อถกเถียงแบบไม่มีที่สิ้นสุด 

ขอบคุณภาพจาก Megan_Rexazin

เหตุผลแบบไหนบ้างที่เรียกว่าเป็น ตรรกะวิบัติทางจิตวิทยา ?

จริงๆ แล้วตรรกะวิบัติที่ว่านี้มีหลายรูปแบบมาก วันนี้เราเลยขอยกตัวอย่างบางรูปแบบมักจะพบเห็นบ่อยๆ ตามสื่อหรือบทสนทนาชีวิตประจำวัน ไปดูกันเลยดีกว่าว่าคุณเคยพบเห็น หรือเผลอใช้ Fallacy ต่อไปนี้กับลูกๆ บ้างหรือเปล่า

  • การใช้ความสงสาร (Appeal to Pity) : เป็นการอ้างเหตุผลโดยทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเห็นใจ สงสาร ทั้งที่ไม่มีหลักฐานหรือข้อสนับสนุน เช่น การใช้รูปภาพโฆษณาที่เป็นเด็กหรือคนที่ดูน่าสงสาร ทั้งที่คนในภาพอาจจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้านั้นเลย หรือการอ้างว่า “ปล่อยไปเถอะ อย่าไปเอาผิดเขาเลย เพราะยังไงตอนนี้เขาไม่ค่อยสบาย แถมมีเรื่องเครียดหลายอย่าง”
  • การอ้างคนส่วนมาก (Appeal to the People) : เป็นการให้เหตุผลว่าคนส่วนมากคิดหรือทำแบบนี้ เพื่อให้อีกฝ่ายยอมจำนนต่อเหตุผลของตัวเอง เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นคนส่วนน้อย และไม่เป็นที่ยอมรับของคนอื่นๆ ทั้งที่จริงสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป ตัวอย่าง Fallacy ประเภทนี้เช่น “80% ของเด็กไทยทั่วประเทศใช้ปากกายี่ห้อนี้ ดังนั้น น้องๆ ควรซื้อปากกายี่ห้อนี้มาใช้” หรือ “ใคร ๆ ก็ลอกข้อสอบกัน ทำไมเราจะทำบ้างไม่ได้”
  • การโจมตีที่ตัวบุคคล (Personal Attack) : การอ้างเหตุผลไปที่ตัวบุคคลหรือตัวผู้พูด โดยไม่ได้สนใจความสมเหตุสมผลของเนื้อหาสาระที่พูดออกมา ซึ่งอาจจะทำให้พลาดข้อมูลที่ถูกต้องหรือสมเหตุสมผลไป เช่น “A เป็นคนทำแก้วแตกแน่เลย เพราะ A เป็นคนซุ่มซ่าม” หรือ ตอนที่คุณแม่เตือนให้ลูกพูดเพราะๆ แล้วลูกตอบว่า “ทีคุณแม่ยังพูดไ่ม่เพราะตอนขับรถเลย”
  • การเบี่ยงประเด็น (Red Herring) : คือการเบี่ยงประเด็นหรือเปลี่ยนเรื่อง โดยนำข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เชื่อมโยงกับเรื่องที่พูดคุยกันมาอธิบายเหตุผล เช่น A บ่นว่า “สิวขึ้นอีกแล้ว เพราะช่วงนี้นอนดึกแน่เลย” คุณแม่เลยตอบว่า “ก็อยู่หน้าจอโทรศัพท์ทั้งวัน เลยทำให้สุขภาพไม่ดี เดี๋ยวสายตาก็เสียแถมเกรดก็ตกลงไปด้วยหรอก”
  • การสร้างทางเลือกลวง (False Dilemma) : คือการสร้างทางเลือกแค่สองทาง หรือบีบบังคับให้เลือกตามชอยส์ที่บอกมา ทั้งที่จริงอาจจะมีทางเลือกอื่นอีกหลายอย่าง เช่น เด็กๆ ไปโรงเรียนแล้วเจอรุ่นพี่บอกว่า “ถ้าไม่ชอบกิจกรรมนี้ ก็ลาออกจากชมรมไป” ทั้งที่จริงการเข้าชมรมควรเป็นความสมัครใจ ส่วนความชอบหรือไม่ชอบกิจกรรมในชมรม จริงๆ แล้วมีทางเลือกอื่นๆ อย่างการพูดคุยกันว่าทำไมถึงไม่ชอบกิจกรรมนี้ และปรับยังไงได้บ้าง โดยไม่ได้มีทางเลือกแค่การอยู่หรือไปจากชมรมเท่านั้น

นอกจากจะสอนเด็กๆ ให้มีหลักการคิดอย่างมีเหตุผลแล้ว บางครั้งเราเองอาจจะต้องหันกลับมาสำรวจตัวเองด้วยว่า เราเคยเผลอใช้เหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลแบบนี้กับลูกบ้างหรือเปล่า เพราะสิ่งสำคัญกว่าการสอน คือการเป็นแบบอย่างที่ดีให้พวกเขาเชื่อถือและอยากปฏิบัติตาม

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.unlockmen.com/fallacy-critical/

https://examples.yourdictionary.com/examples-of-fallacies.html

http://old-book.ru.ac.th/e-book/p/PY105(46)/py105_04_12.pdf

https://io9.gizmodo.com/critical-thinking-explained-in-six-kid-friendly-animati-5888322

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1147 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1048 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ศิลปะแห่งการตั้งคำถามในห้องเรียน

“การตั้งคำถาม” ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คุณครูสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ศิลปะแห่งการตั้งคำถามในห้องเรียน
Starfish Academy

ศิลปะแห่งการตั้งคำถามในห้องเรียน

Starfish Academy
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

ภาษาจีนเบื้องต้นพิชิต Hsk1

ทำความรู้จักการสอบHsk และรายละเอียดการสอบHsk1 อธิบายคำสั่งในการสอบ เทคนิคการทำข้อสอบในส่วนของคำศัพท์ การฟัง และกา ...

กฤษณ์ คล้ายวงษ์
กฤษณ์ คล้ายวงษ์
ภาษาจีนเบื้องต้นพิชิต Hsk1
กฤษณ์ คล้ายวงษ์

ภาษาจีนเบื้องต้นพิชิต Hsk1

กฤษณ์ คล้ายวงษ์
2040 ผู้เรียน

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
15063 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
"น้องเบล" นักร้องโอเปร่า ระดับโลก
04:39
Starfish Academy

"น้องเบล" นักร้องโอเปร่า ระดับโลก

Starfish Academy
3346 views • 4 ปีที่แล้ว
"น้องเบล" นักร้องโอเปร่า ระดับโลก
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
04:09
Starfish Academy

3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19

Starfish Academy
60 views • 3 ปีที่แล้ว
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)
07:15
Starfish Academy

การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)

Starfish Academy
351 views • 5 ปีที่แล้ว
การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)