แชร์แนวคิดศึกษานิเทศก์ยุคใหม่ คิดอย่างไรถึงก้าวทันโลก?

Starfish Academy
Starfish Academy 137 views • 1 ปีที่แล้ว
แชร์แนวคิดศึกษานิเทศก์ยุคใหม่ คิดอย่างไรถึงก้าวทันโลก?

“ศึกษานิเทศก์” มีบทบาทที่สำคัญสำหรับการศึกษาไทย เปรียบเสมือนที่ปรึกษาด้านวิชาการและการจัดการเรียนการสอนให้แก่คุณครูทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียน

แต่ในปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ได้ถูก Disrupt ด้วยมีเทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่คุณครูเองสามารถค้นคว้าได้เองจากอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้

ดังนั้น คำถามที่สำคัญคือ “เราจะเป็นศึกษานิเทศก์ที่มีคุณค่าและความหมายต่อการศึกษาไทยได้อย่างไรในโลกอนาคต?”

วันนี้ ว่าที่ร้อยตรี ถาวร อารีศิลป อดีตศึกษานิเทศก์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นผู้ริเริ่มโครงการต่างๆ ได้มาแชร์ประสบการณ์และแลกเปลี่ยนแนวคิดของการเป็นศึกษานิเทศก์ยุคใหม่ที่ทันโลก ว่าจะต้องคิดหรือเป็นอย่างไร เพราะในท้ายที่สุดนั้น ผลลัพธ์ที่มีคุณค่าจะเกิดขึ้นแก่นักเรียน ซึ่งจะเป็นผู้สร้างอนาคตของประเทศชาติต่อไป

  • แนวคิดที่ 1 : ศึกษานิเทศก์ต้องเป็นนักคิด นักริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ไม่กลัวความล้มเหลว

“การศึกษาควรสอนให้เด็กรู้จักความล้มเหลว” อาจารย์ถาวรกล่าว เพราะเมื่อเด็กรู้จักความล้มเหลว เขาจะเรียนรู้จากสิ่งนั้นและลองทำอะไรใหม่ๆ ได้ในช่วงปี 2545-2553 อาจารย์ถาวรได้ริเริ่มโครงการต่างๆ มากมาย เช่น ทางด้าน ICT ทั้งที่ในช่วงนั้นยังไม่เคยมีใครนึกถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้ “ระยะแรกได้ดำเนินการร่วมมือกับบริษัทเอกชนรายหนึ่งที่ต้องการทำเรื่องอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนและครู จึงได้วางแผนร่วมกันที่จะสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้สถานศึกษาที่สนใจ โดยเริ่มทำเว็บไซต์ bmasmartschool.com ภายใต้โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ และเริ่มจับมือกับมหาวิทยาลัย จำนวน 11 แห่งในกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งฝึกอบรมให้กับนักเรียนและครูเพื่อให้มีพื้นฐานทางด้าน ICT หลังจากนั้นจึงได้ตั้งงบประมาณจากกรุงเทพมหานครเพื่อออกแบบโปรเจกต์ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนด้าน ICT สำหรับนักเรียนในระดับชั้น ป.4-6 ได้แก่ กิจกรรมการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ การถ่ายภาพและการตัดต่อวิดีโอ การเขียนการ์ตูนแอนิเมชั่น การทำกราฟิก การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ การทำเครื่องบินเล็ก เราเป็นคนนำเรื่องพวกนี้เข้าไปในระบบการศึกษา กทม. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กล้าลองทำอะไรใหม่ๆ และสิ่งที่สำคัญคือ เด็กได้เกิดการลงมือปฏิบัติจริง จนกระทั่งตอนนี้เด็กๆ ที่เข้าโครงการหลายคนได้เรียนจบมหาวิทยาลัย บางคนจบปริญญาเอกด้าน IT ไปแล้ว การส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการใช้เหตุผล ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม การปลูกฝังความขยันหมั่นเพียรและความอุตสาหะให้แก่ผู้เรียน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกับเขาเมื่อเติบโตขึ้น” อาจารย์กล่าวเน้นย้ำว่า สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ตรง หรือเป็น First-hand experience จากการ Play & Learn คือเล่นและได้เรียนรู้จากการทำโปรเจกต์ต่างๆ เป็นการสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญ

  • แนวคิดที่ 2 : ศึกษานิเทศก์ต้องเป็นนักประสานเชื่อมโยงความร่วมมือเพื่อมาสร้างประโยชน์แก่โรงเรียน

“ย้อนไป 20 กว่าปี ตั้งแต่เข้ามาเป็นศึกษานิเทศก์ ในปี 2538 อาจารย์คิดว่า เราทำงานคนเดียวไม่ได้ เมื่อได้มาเป็นศึกษานิเทศก์ต้องจับมือกับผู้ที่สนใจเรื่องการพัฒนาคนผ่านการศึกษาให้ได้มากที่สุด หมายถึง สร้างความร่วมมือกันกับทุกคนได้ win-win ด้วยกันทั้งคู่ อาจารย์ขอความร่วมมือ ตั้งแต่ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน มูลนิธิต่างๆ เพราะคิดว่าฉันทำงานคนเดียวไม่ได้ เราต้องการคนช่วย เราทำมาตลอดระยะเวลา 26 ปี จนถึงเกษียณอายุราชการ เป็นการส่งผลที่ประเมินค่าไม่ได้สำหรับมูลค่าที่นักเรียนและครูของเราได้รับ เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานให้เด็กๆ ที่สนใจ มีแรงบันดาลใจเพื่ออนาคตของเด็กหลายคนในวันข้างหน้า อาจารย์จึงมีเป้าหมายว่า ฉันจะลุยทำ ซึ่งมันก็ไม่ได้ง่าย เพราะเมื่อก่อนหน่วยงานภาครัฐมักจะมีแนวคิดว่า “ฉันจะทำของฉัน ไม่อยากให้คนอื่นเข้ามายุ่ง” แต่ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความคิดมากขึ้น เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็น ‘win-win situation’ คือ ทุกคนได้เหมือนกัน จึงเกิดเป็นลักษณะงานของ CSR ขึ้นมาในองค์กรต่างๆ”

ผลลัพธ์ของการร่วมมือกับหลายภาคส่วนทำให้เกิดโครงการต่างๆ ที่ไม่เคยคิดว่าทำได้ เช่น สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (โครงการตายายสอนหลานโดยวุฒิอาสาธนาคารสมอง) บริษัทเอกชนด้าน internet (โครงการห้องเรียน ICT ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนธรรมชาติ ห้องเรียนวัฒนธรรม) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (โครงการเปิดโลกวิทยาศาสตร์) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (โครงการห้องเรียนสีเขียว) และอีกหลายหน่วยงาน ส่งผลให้นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาหรือแม้แต่ทีมศึกษานิเทศก์เองสามารถเข้าถึงโอกาสซึ่งเป็นทางเลือกในการพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น

  • แนวคิดที่ 3 : ศึกษานิเทศก์ต้องเป็นนักปฏิบัติ และเป็นตัวอย่างที่แท้จริง

“โรงเรียนจะต้องสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ ใช้แนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management : SBM) เพื่อนำไปสู่ห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning Classroom)” อาจารย์กล่าวว่า การเป็นเทรนเนอร์ครูที่ดี คือการนิเทศผ่านการทำให้ดู ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและลงไปถึงห้องเรียน ทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณ ค่าสถานที่ ค่าอาหารและค่าเดินทาง แทนที่จะนำครูออกนอกโรงเรียนเดินทางไปฝึกอบรมตามสถานที่ต่าง ๆ สิ่งที่อาจารย์ทำเมื่อออกไปนิเทศ มีหลักสำคัญอยู่ 3 ข้อ

1. พูดคุยปรึกษาเพื่อร่วมวางแผนกับทีมผู้บริหารสถานศึกษาถึงแนวทางการนิเทศในโรงเรียนผ่าน “การสอนให้ดู” ในห้องเรียน

“การสอนให้ดู” เป็นแนวทางของอาจารย์ถาวร ที่จะนิเทศครูเป็นรายบุคคลโดยเน้นไปที่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ครูเป็น Facilitator ผสมผสานกับระบบนิเวศการเรียนรู้ในห้องเรียน (Learning Ecosystem in Classroom) ในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ต่อมาในช่วงปี 2561-2564 ได้ต่อยอดโดยการนำแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด “การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน”

2. นิเทศการสอนด้วย “การสอนให้ดู”

“ปี 2543 หลังจากมี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีการเน้นแนวทางการสอนไปที่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center Learning) ช่วงนั้นคิดว่า เราจะทำอย่างไรดี เพราะการผลิตครูตอนนั้นยังคงเป็น Teacher Center แล้วเราเองก็เป็นผลผลิตของ Teacher Center ช่วงเวลาเริ่มแรกนั้น ขณะที่เข้าไปนิเทศก็ได้พูดคุยกับผู้บริหารสถานศึกษาและคุณครู โดยขอไปทำกิจกรรมกับเด็ก โดยให้ครูที่กำลังสอนให้สอนไปสัก 5-10 นาที แล้วเราก็เข้าไปสอนต่อจากครู เราสาธิตการสอนให้ครูดูโดยใช้วิธีการ Active Learning เน้นการกระตุ้นโดยใช้คำถาม หรือบางครั้งใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง และให้ผู้เรียนพูดคุยกันโดยการสร้างผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 4 คน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ เด็กกล้าตอบ กล้าพูด กล้าถาม ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบผ่อนคลาย สนุกเป็นกันเอง หลังจากนั้นก็พาครูสะท้อนคิด ครูส่วนใหญ่พูดว่า ‘หนูตื่นเต้นมากตอนที่ อาจารย์และทีมบริหารเข้าไปดูในช่วงที่สอนถึงจะเป็นระยะสั้น ๆ ก็ตื่นเต้นมาก’ เราเลยพาครูคิดต่อว่า ถ้าเปลี่ยนจากไปดูครูสอนปรับเปลี่ยนเป็นว่า ศึกษานิเทศก์ทำการสอนให้ดู รูปแบบนี้จะพอเป็นไปได้ไหม ครูที่มาสะท้อนคิดต่างมองหน้ากันแล้วบอกว่า ‘เห็นด้วยอย่างยิ่ง’ หลังจากนั้นเราจึงเสนอแนวทางการนิเทศการสอน เมื่อเข้าไปนิเทศ เราจะถามคุณครูว่า 1. วันนี้สอนเนื้อหาอะไร 2. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เด็กเกิดอะไร แล้วจะเริ่มสอนให้ดู แต่มีข้อแม้ว่า ศึกษานิเทศก์จะสอนให้ดูก่อน 2 ครั้ง หลังจากนั้น ครูจะต้องสอนเอง โดยมีเราคอยช่วยเหลือและครูสามารถขอความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา บางครั้งครูติดขัดเราก็เข้าไปช่วยแบบหน้างานโดยทันทีเป็นการนิเทศแบบร่วมมือ รวมพลัง ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันมากในยุคสมัยปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญที่จะให้การนิเทศประสบความสำเร็จ ศึกษานิเทศก์ ครู และผู้บริหารจะต้องสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน”

ในระยะแรก ปี 2543-2559 จะนิเทศผ่าน “การสอนให้ดู” ในห้องเรียน    เวลาผ่านมา 17 ปี เป็นระยะที่ 2 เริ่มจากปี 2560-2564 ปรับรูปแบบการนิเทศผ่านการสอนให้ดูจากการสอนให้ดูทีละห้อง มีครูได้รับการนิเทศ 1-3 คน มาเป็นการสอนให้ดูที่ห้องประชุมเพื่อปฏิรูปวิธีการเรียนการสอนทั้งโรงเรียน และเปลี่ยนจากเด็กนักเรียนจริงๆ เป็นครูมานั่งเป็นนักเรียน นอกจากนี้เรายังสอดแทรกองค์ความรู้ต่างๆ ในการ “สอนให้ดู” คือ

  1. ครูจะต้องเข้าใจว่า “หลักสูตร” คือชีวิต สิ่งที่จะเรียนรู้จะต้องสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตและสอดคล้องตามวัยของผู้เรียนและไม่ใช่การสอนเพื่อนำไปใช้แค่สอบ แต่ต้องสอนให้ผู้เรียนมีทักษะและสมรรถนะที่จะสามารถนำไปใช้ในอนาคต จึงจะเกิดความคุ้มค่ากับความตั้งใจของนักเรียน
  2. “ครูต้องฟังมากกว่าพูด” ส่วนใหญ่ถ้าเด็กยิ่งพูด ครูก็จะยิ่งเสียงดัง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ครูเหนื่อยกว่าเดิม ดังนั้นครูต้องให้เด็กมีบทบาทในการแลกเปลี่ยน พูดคุย เล่าประสบการณ์ให้มากขึ้น และที่สำคัญคือ เมื่อครูฟังเสียงเด็กมากขึ้น และฟังเสียงที่นักเรียนไม่ได้พูดด้วย (ฟังเสียงที่ไม่มีเสียง) เช่น ครูต้องสังเกตอาการของเด็กทุกคนว่าวันนี้เขาพร้อมที่จะเรียนหรือไม่ ดูแววตา ดูสีหน้า พฤติกรรมที่แสดงออกว่าเขามีความสุขดีไหม ต้องสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ในห้องเรียนให้เหมาะสม เป็นต้น
  3. กลยุทธ์กลั่น (กรอง) แล้วจึง “แกล้ง”เด็ก คือการแกล้งยั่วให้เขาเกิดการคิด โดยการโยนคำถามไป ไม่บอกคำตอบ ให้เด็กใช้เหตุใช้ผล ค้นคว้า และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการหาคำตอบ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกมานำเสนอของแต่ละกลุ่ม การโยนคำถามหรือปัญหาต้องไม่กระทบต่อร่างกาย จิตใจของเด็ก เพราะเมื่อเราได้ “กลั่น” (กลั่นว่าจะให้นักเรียนคิดอะไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์) “กรอง” (กรองคำถามออกมาเป็นข้อๆ เพื่อให้เกิดการร้อยเรียงของคำถาม) แล้ว “แกล้ง” (ยั่วให้คิดโดยโยนคำถามถามเด็ก) เราจะพบว่าคำตอบของเด็กจะมีความหลากหลาย และมีความคิดสร้างสรรค์
  4. ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ไม่เกิน 4 คน ต่อกลุ่ม คละความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน เป็นการทำงานแบบร่วมมือ รวมพลัง (เพื่อนช่วยเพื่อน) เป็นการสร้างการยอมรับความคิดเห็นต่างของเพื่อนๆ ในกลุ่มและต่างกลุ่ม ตามแนวทางวิถีแห่งประชาธิปไตย

 3. สร้างบัดดี้เพื่อนครู

“การสร้างบัดดี้ครู” เป็นการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) และใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Profession Learning Community : PLC) อาจารย์ถาวรกล่าวว่า “เราจะพยายามสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูทำงานร่วมกันอย่างน้อย 2 คน ร่วมกันออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ เดือนละ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการผลัดเปลี่ยนบทบาทของครูที่เป็น Model Teacher และครูที่เป็น Buddy Teacher โดยเริ่มตั้งแต่      ขั้นที่ 1 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 นำแผนฯ มาช่วยกันวิเคราะห์ ขั้นที่ 3 นำแผนฯ ไปใช้จริงในห้องเรียน ขั้นที่ 4 สังเกตและเก็บข้อมูลนักเรียนที่ได้เรียนรู้และไม่ได้เรียนรู้ ขั้นที่ 5 นำผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและผลจากการสังเกตนักเรียนมาสะท้อนคิด และขั้นที่ 6 มีการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้อีกครั้ง   เป็นการร่วมมือ รวมพลังของครูอย่างน้อย 2 คน เพื่อสร้างพื้นที่แห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ มีการเปิดใจมากขึ้น แบ่งปันและช่วยเหลือกันและกัน โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ครูร่วมกันปรับปรุงพัฒนาการออกแบบแผนจัดการเรียนรู้และหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล สอดคล้องกับคำว่า ‘ไม่ทิ้งนักเรียนคนใดไว้ข้างหลัง’ (No Child Left Behind) ซึ่งเป็นอีกแนวทางที่จะนำไปสู่การเป็นห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning Classroom)”

กล่าวได้ว่าทั้ง 3 แนวคิด น่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครู และผู้ที่สนใจสามารถนำไปปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption เพราะแนวคิดทั้ง 3 เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์ตรงของว่าที่ร้อยตรี ถาวร อารีศิลป ซึ่ง ณ ปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการแล้ว แต่ยังคงตั้งปณิธานกับตัวเองว่า อยากที่จะเผยแพร่ประสบการณ์ และองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่มี ให้แก่บุคลากรทางการศึกษาไทย เพราะอาจารย์เชื่อว่าหน้าที่ของเรา ณ ตอนที่เกษียณอายุราชการแล้ว คือ การแบ่งปันให้กับผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในอนาคตต่อไป

ขอขอบคุณ ว่าที่ร้อยตรี ถาวร อารีศิลป ข้าราชการบำนาญ กรุงเทพมหานคร

อดีตศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

บทสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3

การฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในวัยเด็กเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการวางพื้นฐานที่ถูกต้อง นำไปสู่พัฒนาการด้านร่างก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3

Starfish Academy
คุณธรรมและจริยธรรม
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)

การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน เน้นการเรียนรู้บนฐานชีวิตจริงที่ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยต ...

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca  Based Learning : ABL)
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม

การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
Starfish Academy

เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคสอนเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้

แนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ควรใช้สื่อที่เหมาะสมและวัดประเมินผลตามสภาพจริง สอ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคสอนเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคสอนเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้

Starfish Academy

Related Videos

EP:2 ทิศทางของครูไทย ไปยังไงกันต่อดี
30:01
Starfish Academy

EP:2 ทิศทางของครูไทย ไปยังไงกันต่อดี

Starfish Academy
1469 views • 1 ปีที่แล้ว
EP:2 ทิศทางของครูไทย ไปยังไงกันต่อดี
3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3
03:14
Starfish Academy

3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3

Starfish Academy
74 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3
กล้าสอน KLA-SON  KN ENJOY MODEL
27:38
Starfish Academy

กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL

Starfish Academy
66 views • 2 ปีที่แล้ว
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
595 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1