Kru สอน Cool สร้างพลังการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ การวัดและประเมินผลให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ KPA

การวัดและประเมินผล เป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ช่วยให้ครูได้ข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนอย่างแท้จริง ฉะนั้น การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกันและตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของแผนการสอนในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และในครั้งนี้จะเป็นการแชร์ประสบการณ์ร่วมกันในการเขียนแผนการสอนหรือการจัดการเรียนการสอนจากปัญหาที่พบของเพื่อนครู เพื่อเป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ KPA ดังนี้
1. การใช้ขั้นนำทบทวนความรู้เดิมสู่บทเรียนรู้ใหม่ การทบทวนความรู้เดิมก่อนการนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐานแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับบทเรียนใหม่ๆ อีกด้วย เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น การสอนแต่งประโยคผ่านกิจกรรมทายคำจากท่าทาง การทดสอบก่อนบทเรียน เป็นต้น ซึ่งในการทบทวนความรู้เดิมอาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้น ไม่ว่าจะใช้คำพูด การเขียน ภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทเรียนนั้น ๆ
2. แนวปฏิบัติสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการช้า และเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เข้าเรียน จากกรณีดังกล่าว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ 1) เด็กที่มีพัฒนาการช้า ครูทำการประเมินระดับพัฒนาการของเด็ก และสร้างทักษะสำคัญให้กับเด็ก เช่น การสร้างความรู้สึกว่าตนเองมีค่า การสอนทักษะการเรียนโดยการกระตุ้นคิดหลังการเรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น หรือครูอาจใช้กิจกรรมในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน เช่น นำเด็กที่มีปัญหานั่งคู่กับเด็กที่มีพัฒนาการหรือเรียนรู้ได้ดีกว่า และใช้การเสริมแรงให้นักเรียนคอยช่วยดูแลซึ่งกันและกัน 2) เด็กที่มีพฤติกรรมไม่เข้าเรียน ครูอาจจะต้องสังเกตในรายวิชาที่เด็กเข้าเรียน-ไม่เข้าเรียน และหาสาเหตุของปัญหาที่เด็กไม่เข้าเรียน และใช้การเสริมแรงทั้งทางบวกและทางลบ เช่น นักเรียนจะตั้งใจเรียนมากเมื่อใกล้ถึงเวลาพักเที่ยง เพราะถ้าไม่ตั้งใจเรียนเด็กจะรู้ทันทีว่าครูจะไม่ปล่อยให้พักเที่ยง เป็นต้น หรือครูอาจจะใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กผ่านเพื่อนของเด็กที่มีปัญหาก็ได้
3. การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการวัดและประประเมินผล โดยการประเมินจะแบ่งตามลักษณะของรายวิชาด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกัน เช่น ด้านความรู้ (K) นิยมใช้แบบทดสอบ ด้านทักษะ (P) จะใช้ชิ้นงานประกอบกับเกณฑ์การให้คะแนน (Rubric) หรือแบบประเมินใบงาน/แบบฝึกหัด ด้านเจตคติ (A) จะใช้การประเมินตามสภาพจริง ยกตัวอย่างเช่น
3.1) จุดประสงค์การเรียนรู้ คือ นักเรียนเกิดทักษะการพูดและการเขียนกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ ฉะนั้น การวัดจะแบ่งออกเป็น 2 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการพูดและทักษะการเขียน (P) โดยการกำหนดรูปแบบของการพูด การเขียน และเกณฑ์การให้คะแนน (Rubric) เป็นต้น
3.2) จุดประสงค์การเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนสร้างโจทย์จำนวนปัญหาจำนวนนับ ฉะนั้น การวัดและประเมินให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ KPA ได้แก่ ด้าน K คือ นักเรียนสามารถอธิบายโจทย์ปัญหาจำนวนนับหรือวิธีการสอนได้ ด้าน P คือ กระบวนการการสร้างโจทย์ปัญหา และด้าน A คือความสนใจในการเรียน เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ ครูอาจจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของจำนวนตัวชี้วัดให้มีความสอดคล้องกับความเป็นไปได้ในการดำเนินงานของครู เพื่อให้ครูสามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุม และไม่เป็นการเพิ่มภาระงานของครูมากเกินไป
4. การใช้เทคนิคการประเมินการเรียนรู้ 1 ในตัวชี้วัด วPA โดยการให้นักเรียนได้มีโอกาสประเมินผลงานของตนเองและของเพื่อน เพื่อเป็นการสะท้อนผลการเรียนรู้ สามารถตรวจสอบ พัฒนาความสามารถในการตัดสินและประเมินงานของตนเองและเพื่อน รวมถึงการรู้จุดเด่น จุดด้อยในการทำงาน และนำจุดด้อยของตนมาพัฒนาในการเรียนรู้ได้ โดยรูปแบบการประเมินสามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี เช่น การพูด-เขียนข้อคิดเห็น (comment)
การให้คะแนน การใช้ใบงานซ้อนใบงาน เป็นต้น ซึ่งเทคนิคทั้ง 2 รูปแบบสามารถนำไปใช้ร่วมกับการประเมินโดยครูผู้สอนได้ แต่ต้องใช้แบบประเมินคนละฉบับ เนื่องจากการประเมินโดยครูเป็นการประเมินเพื่อวัดผลพัฒนาการของผู้เรียน ทั้งนี้ สิ่งสำคัญสำหรับการประเมินคือ ครูต้องชี้แจงเกณฑ์การประเมินให้นักเรียนทราบทุกครั้งทีมีการประเมิน
5. การนำเสนอด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ สามารถส่งได้หลายรูปแบบ เช่น ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์ภาพ หรือไฟล์ PDF รวมแล้วไม่เกิน 3 ไฟล์ กรณีครูนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ต้องมีจำนวนไม่เกิน 10 หน้า ประกอบด้วย รูปภาพผลงานนักเรียนที่เกิดระหว่างเรียนและหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมดหรือไม่เกิน 10 ภาพ พร้อมทั้งคำอธิบายใต้รูปภาพ ผลคะแนนก่อน-หลังเรียน หรือกิจกรรมระหว่างการจัดการเรียนรู้ในด้านที่ 1
เห็นได้ว่า การวัดและประเมินผลให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนครู ตลอดจนพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่อง และยั่งยืน
Related Courses
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...



Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...



เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...



เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



Related Videos


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

