เพราะห้องเรียนไม่จำเป็นต้องเงียบเสมอไป บางครั้งเพลงก็เป็นตัวช่วยในการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากเป็นการละลายพฤติกรรมให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนแล้วยังช่วยทำให้นักเรียนไม่เครียดกับวิชาการมากเกินไป แถมทำบรรยากาศในห้องเรียนมีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย เพราะห้องเรียนคือ “พื้นที่ปลอดภัย” หมายถึง พื้นที่นักเรียนรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการแสดงออกทางความคิด เป็นพื้นที่เปิดกว้างและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการจัดอันดับหรือแบ่งแยกให้รู้สึกด้อยค่า พื้นที่ที่สามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาดและมีโอกาสให้เสมอ บนพื้นฐานความเชื่อว่า “คนทุกคนสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้” ซึ่งพื้นที่ปลอดภัย ตรงข้ามกับ “พื้นที่อันตราย” ครูต้องทำห้องเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ อยากให้นักเรียนเรียนในห้องเรียนแล้วรู้สึกว่า เป็นพื้นที่ปลอดภัย สนุกสนาน และมีความสุขในการเรียนรู้อย่าใช้ความกดดัน การตำหนิติเตียนกลายเป็นพื้นที่อันตรายจนเด็กไม่อยากมาโรงเรียน
“ดนตรี” จึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขและเกิดความปลอดภัยในการเรียนรู้เต็มไปด้วยบรรยากาศของการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ดังนั้นการใช้เพลงเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนย่อมเป็นหน้าที่ของคุณครูทุกคน ไม่ใช่เฉพาะครูวิชาดนตรี เท่านั้น คุณครูทุกคนสามารถใช้เพลงเป็นสื่อในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะครูคือผู้อำนวยความสะดวก หรือเป็นผู้อำนวยความสุขให้กับนักเรียนนั่นเอง
มนุษย์เราจะเพลิดเพลินตอนทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การนอนหลับ การพักผ่อนหย่อนใจ การต่อเลโก้ การเล่นกับสัตว์เลี้ยง การฟังเพลง การปลูกต้นไม้ ฯลฯ ซึ่งความเพลิดเพลินของแต่ละคนจะไม่มีการบังคับ แต่เกิดจากความสนใจ เด็กในชั้นเรียนย่อมเหมือนกัน ย่อมต้องการความเพลิดเพลินในการเรียนรู้จากความเครียดจากเนื้อหาทางวิชาการ ครูต้องมีความเข้าใจว่า “เด็กในศตวรรษที่ 21 ชอบอะไรบ้าง” ตัวอย่างเช่น
1. มีอิสระในการเลือกในสิ่งที่พอใจของตัวเด็กเอง
2. ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงตามความสนใจ
3.ต้องการตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
4. เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5. ชอบความสนุกสนาน รักการเล่น
6. ชอบความร่วมมือในการทำกิจกรรม
7.ต้องการความเร็วในการสื่อสาร/หาข้อมูล
8.สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
ในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เรียกว่า ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ( 3R 8C ) 3R คือ ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) ได้แก่
- (R)eading : สามารถอ่านออก อ่านจับใจความได้
- (W)Riting : สามารถเขียนได้ สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ
- (A)Rithemetics : มีทักษะการคำนวณ คิดแบบนามธรรม
ส่วน 8C คือ ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) ได้แก่
- Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้
- Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
- Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
- Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
- Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
- Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
- Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
- Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย
ทักษะเด็กยุคใหม่ 3R / 8C เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในสมัยก่อนทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หลักการเรียนรู้ 7 ประการ How Learning Works “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21” นั่นคือ
- ความรู้เดิมของผู้เรียนช่วยเสริมส่ง หรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้
- วิธีที่ผู้เรียนจัดระเบียบความรู้มีอิทธิพลต่อการเรียน และการนำความรู้ไปใช้
- แรงจูงใจของผู้เรียนกระตุ้นให้เกิด ชี้นำ และเกื้อหนุนการกระทำเพื่อเรียนรู้
- เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ ความสามารถ และรู้ว่าเมื่อใดควรประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมา
- การเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งการฝึกฝนที่มุ่งเป้าหมาย และผลป้อนกลับที่มุ่งเป้าหมาย
- พัฒนาการระดับปัจจุบันของผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศทางสังคม ทางอารมณ์ และทางสติปัญญาของรายวิชา ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
- เพื่อให้เป็นผู้เรียนที่กำกับตนเองได้ ต้องรู้จักประเมินความต้องการของงาน ประเมินความรู้ และทักษะของตนเอง วางแผนแนวทางตรวจสอบความก้าวหน้า และปรับยุทธศาสตร์ของตนไปตามที่จำเป็น
ซึ่งหลักการเรียนรู้นี้จะต้องอาศัย Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำนั่นเอง
เห็นได้ว่า การใช้เพลงเป็นสื่อ มาเพิ่มคุณค่าจากเสียงเพลงที่ฟังเพื่อความผ่อนคลาย เพื่อสนองความสุขและจรรโลงใจให้หายจากความเศร้า หรือความเครียด มาเป็นเสียงเพลงที่จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด วPA เพื่อให้ เด็กจะเพลินในการเรียนรู้ และครูจะเพลิดเพลินใจในการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
บทความใกล้เคียง
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง

แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว

5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz

Related Courses
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...



Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3
การฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในวัยเด็กเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการวางพื้นฐานที่ถูกต้อง นำไปสู่พัฒนาการด้านร่างก ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
Related Videos


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21


3 ข้อดี Starfish Class Website Version


การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)
