7 ข้อผิดพลาด ที่นักเรียนมักมองข้าม ตอนสมัครเรียนต่อในรอบ Portfolio

Starfish Academy
Starfish Academy 890 views • 2 ปีที่แล้ว
7 ข้อผิดพลาด ที่นักเรียนมักมองข้าม ตอนสมัครเรียนต่อในรอบ Portfolio

แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ใช้รวบรวมข้อมูลส่วนตัว ผลงานความสำเร็จ กิจกรรมที่เคยร่วม และโชว์ความสามารถที่หลากหลายด้าน เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับน้อง ๆ ทุกคน นอกจากใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย และสมัครงานในบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ปกติแล้ว Portfolio จะประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานดังต่อนี้ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ผลงานที่ผ่านมา กิจกรรมที่น่าสนใจ งานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา เกียรติบัตร 

เด็ก ๆ ยุคปัจจุบันเรียกว่ามีของในตัวเยอะมาก เก่ง ฉลาดแทบทุกด้าน ทำให้เวลาทำ Portfolio บางครั้งจับต้นชนปลายไม่ถูก อันนี้ก็อยากโชว์ อันนั้นคณะกรรมการน่าจะชอบ สุดท้ายเอกสารเยอะมากและเกิดข้อผิดพลาด เช่น ใส่ผลงานที่ไม่เกี่ยวข้อง สะกดคำผิด ตัวอักษรไม่เท่ากัน ปัญหาเหล่านี้อาจดูเล็กน้อย

แต่ถ้าเราทำทุกอย่างเรียบร้อย เวลาที่คณะกรรมการตรวจเขาเห็นถึงความใส่ใจของเรา ที่สำคัญยังมีอีกหลาย Portfolio ที่รอรับการคัดเลือก เมื่อพอร์ตของน้อง ๆ ดูเป็นระเบียบและง่ายต่อการตรวจก็เพิ่มความประทับใจได้แล้ว 

น้องบางคนอาจยังไม่มั่นใจ จะเริ่มตรวจ Portfolio อย่างไรดี พี่ ๆ Starfish Labz ขอเสนอ 5 ข้อผิดพลาดที่น้อง ๆ หลงลืมตอนทำพอร์ต อ่านจบแล้วรีบเปิด Portfolio เช็คด่วน    

1. ยังหาตัวตนไม่เจอ

ให้เวลากับตนเองสักพักหนึ่งและตัดสินใจว่าอยากเรียนคณะอะไร จบไปจะทำอะไรต่อ เพราะ Portfolio สำหรับบางคณะ เช่น คณะนิเทศศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จำเป็นต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ในพอร์ต และใช้เวลาพอสมควรในการออกแบบ บางมหาวิทยาลัยเขามีโจทย์ให้เราทำผลงานเพิ่มเติมอีกด้วย เพราะฉะนั้นเริ่มจากตัดสินใจก่อนเลยว่าจะเข้าคณะไหน 

2. ข้อมูลไม่สอดคล้องกับคณะ 

สำหรับเด็กยุคใหม่ความสามารถที่ครอบคลุมทุกด้าน จะมีผลงานที่หลากหลายคงไม่แปลก แต่น้อง ๆ อย่าลืมเลือกเฉพาะชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับคณะที่เราสมัคร เกียรติบัตร และกิจกรรมต้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น น้องๆ สมัครคณะศิลปกรรมศาสตร์  ควรใส่ผลงานวาดรูป กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ หรือรูปภาพเข้าชมนิทรรศการ และพี่ ๆ ขอแนะนำเพิ่มเติม ถ้ามีผลสอบภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะสมัครเข้าคณะอะไร ใส่เข้าไปด้วยก็น่าสนใจดีนะ 

3. ดีไซน์ยังไม่ลงตัว

เพราะยังจับคู่สีไม่ถูก Portfolio เลยยังดูไม่สมบูรณ์แบบ พี่ ๆ แนะนำใช้เว็บไซต์จับคู่สีสำเร็จรูป เช่น Adobe color , Color Hunt และใช้เฉพาะ 3 สี เพื่อง่ายต่อการควบคุม เลือกสีได้ตามใจชอบหรือจะใช้สีของมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ สมัครก็ได้ นอกจากนั้นฟอนต์ที่ใช้ไม่ควรเกิน 1-2 ฟอนต์ ช่วยให้คณะกรรมการอ่านง่ายและไม่เพ่งสายตามากเกินไป 

4. ข้อความไม่เป็นระเบียบ

ไม่มีย่อหน้าหรือลำดับกำกับบอกให้รู้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของเนื้อหา ทำให้กรรมการต้องใช้เวลาพิจารณา Portfolio ของน้อง ๆ นานกว่าปกติ และสร้างความสับสนให้กับพวกเขาได้ พี่ ๆ แนะนำให้จัดย่อหน้า เรียงให้เป็นระเบียบ เยื้องซ้าย เยื้องขวา และทำตัวหนาสำหรับหัวข้อใหญ่ นอกจากนี้ขนาดของข้อความสำหรับหัวข้อใหญ่ ควรปรับให้ใหญ่กว่าเนื้อหาเพื่อแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

5. ไม่ตรวจเช็คข้อมูล 

Portfolio สวยก็เป็นส่วนช่วยให้กรรมการชื่นชม แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื้อหาในพอร์ต แบ่งเวลาออกแบบและตรวจสอบเนื้อหาให้ดี เพื่อน้อง ๆ จะได้ไม่พลาดจุดนี้ หรือถ้าข้อมูลมันเยอะเกินไป ลองสรุปและจัดเรียงใหม่ ทำให้ทุกอย่างกระชับ อ่านง่าย และอย่าลืมตรวจทานคำผิด ให้เพื่อนหรือคนใกล้ตัวช่วยอ่าน หรือจะใช้โปรแกรมตรวจในอินเทอร์เน็ตก็ได้ เมื่อเนื้อหาที่สมบูรณ์และการออกแบบที่ทำด้วยความตั้งใจ น้องก็สามารถพิชิตใจคณะกรรมการได้แล้ว  

6. ลืมอ่านกฎระเบียบของคณะ 

ข้อมูลพื้นฐานทุกอย่างครบ แต่ลืมใส่เอกสารที่คณะระบุไว้ในกฎระเบียบ น้อง ๆ ต้องเช็คก่อนเสมอว่าคณะใดบ้าง ขอเอกสารเพิ่มเติม ทำเช็คลิสต์ส่วนตัวให้เรียบร้อยเมื่ออ่านกฎระเบียบเข้าใจแล้ว พอถึงเวลาส่งก็นำมาเช็คทีละข้อว่ามีอะไรบ้างแล้วใน Portfolio ของเรา  เพื่อป้องกันการตกหล่นของเอกสาร 

7. ยื่นพอร์ตฯ เดียวพอร์ตฯ เดิม

ทุกสาขาคุณสมบัติและความต้องการต่างกัน พี่ ๆ ไม่อยากให้น้องพลาดโอกาส ทุกครั้งที่ยื่นสาขาใหม่น้อง ๆ อย่าลืมปรับปรุง Portfolio ให้สอดคล้องกับคณะที่เราสมัคร บางข้อมูลเราสามารถคงไว้ได้ เช่น ประวัติการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ส่วนผลงาน เกียรติบัตร กิจกรรม ต้องเช็คอีกรอบให้สอดคล้องกับสาขาใหม่ที่กำลังจะยื่น 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อผิดพลาดที่น้อง ๆ หลายคนหลงลืมตอนทำ Portfolio และหลายคนอาจมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป พี่ ๆ Starfish Labz เลยเอามาย้ำเตือนอีกครั้ง หวังว่าน้อง ๆ จะนำไปตรวจสอบกับ Portfolio ของตนเองและได้เข้าคณะที่ต้องการ

Sources: 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การศึกษาในอนาคต
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

How to ปรับตัวจากมัธยมเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

จุดเปลี่ยนครั้งนึงของเด็กวัยเรียน คงเป็นการเปลี่ยนจากเด็กนักเรียนสู่การเป็นนิสิตนักศึกษา การปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ใช้ชีวิตใ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to ปรับตัวจากมัธยมเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
Starfish Academy

How to ปรับตัวจากมัธยมเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

Starfish Academy
อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

อยากขายของออนไลน์เริ่มขายที่ไหนดี?

ขายของออนไลน์เป็นอาชีพที่เริ่มไม่ยากทำเป็นอาชีพเสริมได้ หลายคนประสบความสำเร็จจนสามารถลาออกจากงานประจำ เพราะเห็นข้อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
อยากขายของออนไลน์เริ่มขายที่ไหนดี?
Starfish Academy

อยากขายของออนไลน์เริ่มขายที่ไหนดี?

Starfish Academy
2327 ผู้เรียน
อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำสิ่งที่ชอบ สร้างอาชีพที่ใช่

เชื่อว่าหลายๆ คนอยากสร้างอาชีพจากสิ่งที่ชอบและถนัด และนำสิ่งที่เรียนมาต่อยอดเป็นอาชีพที่ใช่สำหรับตัวเอง แต่ปัญหาของแต่ละคนอยู่ ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
ทำสิ่งที่ชอบ สร้างอาชีพที่ใช่
Starfish Future Labz

ทำสิ่งที่ชอบ สร้างอาชีพที่ใช่

Starfish Future Labz
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)

การควบคุมอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่น เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพื่อสามารถใช้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
Starfish Academy

วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)

Starfish Academy

Related Videos

เด็กจบใหม่เผชิญโลกอย่างไร? ในยุคโควิด
06:01
Starfish Academy

เด็กจบใหม่เผชิญโลกอย่างไร? ในยุคโควิด

Starfish Academy
148 views • 3 ปีที่แล้ว
เด็กจบใหม่เผชิญโลกอย่างไร? ในยุคโควิด
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
1336 views • 2 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
328 views • 2 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
05:51
Starfish Academy

ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "

Starfish Academy
301 views • 2 ปีที่แล้ว
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "